RPG Shoukai & Analysis

ฤกษ์งามยามดี
แม้ฟ้าจะสีขุ่นมัวและหน้ากากอนามัยกำลังจะหมด
แต่เราจะ(พยายาม)ใช้ชีวิตอย่างแข็งแกร่งต่อไปค่ะ

เอ๊ะ พอพูดถึงใช้ชีวิตอย่างแข็งแกร่ง....
.
.
.
ทำไมอิมเมจในหัวถึงมีแต่เหล่าฮีโร่ผู้รันทดในการ์ตูนโชเน็นต่าง ๆ กันนะ


แต่ เอ๊ะ(อีกรอบ)
ในเมื่อเราเป็นคนธรรมดา เราจะใช้ชีวิตอย่างแข็งแกร่งได้บ้างมั้ยนะ...
....


คำตอบคือ
ได้!!!!
ยังไงน่ะเหรอ?




ผ่านตัวละครในเกม RPG ยังไงล่ะ!
.
.
.


อย่าเพิ่งกดกากบาทออกจากหน้านี้นะคะ!!!!!

มาทำความรู้จักกับเกม RPG กันก่อนค่อยกดออกก็ยังไม่สายเนอะ //กอดขา

อะแฮ่ม เอาล่ะ ในที่สุดก็ได้เข้าเรื่องสักที

ก่อนที่เราจะเอาเกมมาศึกษาอย่างละเอียดได้ เราควรแนะนำ(และเผยแผ่ลัทธิ)ให้ทุก ๆ คนก่อน


เกม RPG หรือ Role-playing Game
คือเกมที่เราสวมบทบาทเป็นตัวละครในเนื้อเรื่องนั้นนั่นเอง



คุณขนมปังไส้ถั่วแดงที่ไม่มีถั่วแดงคะ

จ๋า?

ถ้าแบบนั้นทุกเกมบนโลกใบนี้ก็ถือว่าเป็น RPG น่ะสิ? 

.....เอิ่บ

ถ้าจะพูดแบบนั้นมันก็ใช่น่ะนะ....

แล้วจุดที่แยกเกม RPG ออกจากเกมอื่น ๆ คืออะไรกันนะ?

คือต้องขอพูดไว้ก่อนตรงนี้เลยว่าถ้ายึดเอาคำจำกัดความของ Role-playing Game ก็คือตามนั้นเลย
ทุกเกมที่เราเล่นเป็นใครสักคน ไม่ว่าจะตำรวจจับผู้ร้าย เป็นเจ้าของโรงแรม หรือเล่นเป็นผู้ร้ายซะเอง
ทุกอย่างคือการสวมบทบาทเพราะงั้นทุกเกมควรจะถูกจัดอยู่ในหมวด Role-playing Game สิ???


แอ๊ดแอ่ดดดดดดดดดดดดดด

RPG นั้นมีอะไรมากกว่านั้นค่ะ!!!  ดั้งเดิมแล้ว RPG มีที่มาจากบอร์ดเกมอย่าง Dungeon and Dragons ค่ะ เป็นบอร์ดเกมที่ผู้เล่นจะสวมบทบาทเป็นตัวละครที่มีลักษณะพิเศษแตกต่างกันออกไป

เพื่อง่ายแก่การเข้าใจเราจะขอสรุปลักษณะจำเพาะของ RPG ที่เราเคยเล่นไว้ 4 ข้อหลัก ๆ ดังนี้ค่ะ

1. ตัวเอกหรือตัวละครที่เราควบคุมได้ไม่ได้มีเพียงแค่ตัวเดียว หรืออย่างน้อยเวลาสู้เรามักไม่ได้สู้ตัวต่อตัว ส่วนใหญ่กลุ่มตัวละครของตัวเอกจะเรียกว่า 'ปาร์ตี้'

2. ความสามารถของตัวละครมีการเติบโตและพัฒนาการอยู่เสมอ หรือก็คือการมี ‘เลเวล’ นั่นเอง ซึ่งเลเวลจะมีความสัมพันธ์โดยตรงกับ Status หรือ Stats ของตัวละครนั้น ๆ ยิ่งเลเวลเก่ง stats ก็ยิ่งเพิ่มขึ้น

3. การเล่นไม่ได้เป็นไปแบบเรียลไทม์ เราจะค่อย ๆ เล่น ค่อย ๆ กดปุ่มก็ไม่มีตัวอะไรมาทำร้ายเราระหว่างคิดแน่นอน อย่างถ้าเป็นเกมต่อสู้ ถ้าเราไม่กดหยุดเกมแน่นอนว่าเราจะโดนอัดน่วมเป็นแน่แท้ ส่วนใหญ่ที่พบจะเป็น turn based RPG คือเราและศัตรูจะผลัดกันโจมตีคนละรอบ



หน้าตาประมาณนี้
ใครเคยเล่นโปเกม่อนน่าจะคุ้นเคยกันดี 


4. โดยเฉพาะในเกมที่เนื้อเรื่องอยู่ในโลกแฟนตาซี จะมี 'ระบบอาชีพ' เพื่อความหลากหลาย ปรับสไตล์การเล่นได้ตามใจชอบ จะมีสายบู๊ทั้งปาร์ตี้เพื่ออัดศัตรูน่วมตั้งแต่เทิร์นแรกเลยก็ย่อมได้ อาชีพที่พบบ่อยใน RPG เช่น นักดาบ จอมเวทย์ นักปราชญ์ นักดนตรี ฯลฯ แต่ละอาชีพจะมีความสามารถแตกต่างกันไป

ถ้าจะสมมติให้เห็นภาพก็เช่น


ท่าไม้ตาย : ยกมือถามอาจารย์



ท่าไม้ตาย : Unlimited 4G Works
อะไรประมาณนี้


เอาล่ะ เมื่อทุกคนรู้จักเกม RPG คร่าว ๆ แล้วเรามาเข้าเรื่องกันเลยดีกว่า

เรื่องของเรื่องเลยคืออย่างที่บอกไปว่าเกมที่เราหยิบมาใช้ทำบล็อคนี้เปลี่ยนภาษาและเสียงพากย์ได้


แปะภาพปกอีกรอบ 
Bravely Second : End Layer
โดย Square Enix 




เพราะงั้นพอเล่นแบบเสียงภาษาญี่ปุ่นพร้อม text ภาษาอังกฤษเลยทำให้เราได้เห็นอะไรหลาย ๆ อย่าง

บางทีก็งงว่าเล่นเกมเดียวกันอยู่รึเปล่า 555555555

มาค่ะ ขอยกตัวอย่าง (ในที่นี้จะขอพูดถึงแต่เรื่องของภาษานะคะ ไม่อยากสปอยล์เกมมากจนเกินไป)

นี่บทพูดในช่วงเดียวกันแต่คนละภาษา






ANALYSIS


: 裏切り者を許しておけない...,

  それは正教騎士団の使命ーー

: He betrayed you

  If you were just blindly performing your duty, you would have executed him as a traitor.






ในภาษาอังกฤษเลือกใช้คำว่า excecute (ประหาร) อย่างตรงไปตรงมา ในขณะที่ในภาษาญี่ปุ่นกลับกล่าวเป็นนัยไว้เพียงว่า ตามหน้าที่ของแล้ว ไม่อาจปล่อยคนที่หักหลังไปได้... ในบริบทนี้เรารู้กันว่า ยกโทษให้ไม่ได้ (許しておけない) = ประหาร แต่สุดท้ายคำนี้เองก็ถูกเลี่ยงที่จะกล่าวออกมาตรง ๆ

รูป おけない มาจากรูป おく ที่มีความหมายว่า วางไว้ ทำไว้(ก่อน) ปล่อยไว้


ประโยคที่คุ้นเคยกันก็น่าจะเป็น 放っておけない ที่แปลว่า ปล่อยเอาไว้(คนเดียว)ไม่ได้

ก็คือแสดงความเป็นห่วงปนเหนื่อยใจนิด ๆ พอเอา 許しておけない ถ้ามาแปลไทยก็....



ยกโทษให้ไม่ได้


(และมีเซ้นส์ของการต้องจัดการทำอะไรสักอย่าง ปล่อยเอาไว้ไม่ได้....)





ต่อมาเรามาดูทั้งบทพูดกันดีกว่า

จะเห็นได้ว่าบทพูดของอังกฤษนั้นยาวกว่ามาก 

และไม่มีการอ้อมค้อมใด ๆ ทั้งสิ้น 

ย้ำถึงบุคคลที่หักหลังถึงสองครั้ง (He betrayed you กับ traitor) รวมถึงยังพูดออกมาตรง ๆ ว่า you would have executed him

ส่วนในภาษาญี่ปุ่นกลับไม่มีการชี้เฉพาะเจาะจงว่า ใคร คือคนที่หักหลัง และใครที่จะต้องจัดการ 

แต่กลับพูดเป็นนัยว่าคนที่หักหลังทุกคนจะต้องได้รับโทษ

ซึ่งแน่นอนว่าคนที่หักหลังคือ เขาคนนั้น แต่การเลี่ยงที่จะไม่พูดถึงเขาขึ้นมาอาจเป็นเพราะ เขา ที่ว่านี้เคยเป็นเพื่อนกับตัวละครเอกของเรานั่นเอง อาจกล่าวได้ว่านี่คือการหลีกเลี่ยงที่จะทำร้ายความรู้สึกของตัวละครที่เคยรู้จักกับเขาคนนั้นมาก่อน

แต่ถึงจะพูดอ้อม สุดท้ายถ้าเรารู้บริบทของฉากนี้ ทุกคนจะเข้าใจตรงกันทันที่ว่า อ๋อ หมายถึง คนนั้น คนที่เพิ่งหักหลังเพื่อนเราไป ไม่ได้จะสื่อถึงใครที่ไหนเลย

เอ้อ มันก็เป็นความชัดเจนในความไม่เฉพาะเจาะจงน่ะนะ

วันนี้ขอพอแต่เพียงเท่านี้ ต้องไปตีบอสต่อ

แล้วเจอกันในบล็อคหน้าที่จะจัดเต็มกว่านี้แน่นอน

(หวังว่า....) 

ความคิดเห็น

  1. นึกว่าRPGหมายถึงเกมที่สู้ๆกัน ไม่ใช่สินะคะ 55555
    แต่น่าสนใจมากที่ภาษาอังกฤษเขาไมแปลว่าแบบยกโทษให้ไม่ได้หรืออะไรแบบนี้ แปลกดีค่ะ

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. RPG นี้ก็สู้ ๆ กันเหมือนกันนะคะ แค่ไม่ได้สู้แบบเรียลไทม์ จะไปหาขนมกินระหว่างเล่นก็ได้ 55555555 มะก่อนเห็นที่เค้าแปลต่างกันก็ไม่ได้คิดอะไรค่ะ จนมาเรียนวิชานี้ 555555

      ลบ

แสดงความคิดเห็น