ว่าด้วยเรื่องของการแปลเกม (2)

ในที่สุดก็ได้ฤกษ์กลับมาแล้ว(ซะที)ค่ะ

วันนี้จะมาต่อจากคราวที่แล้วค่ะ ว่าด้วยเรื่องของกาารแปลเกมเช่นเคย 

คราวนี้จะทำให้เห็นภาพชัด ๆ ด้วยการนำบทพูดในเกมจริง ๆ มาเปรียบเทียบกันค่ะ

โดยบทพูดทั้งหมดมาจากบทนำของเกม Bravely Second ในเครื่อง 3DS ค่ะ เกมสนุกมากจริง ๆ นะคะถ้ามีเครื่องแนะนำจริง ๆ ค่ะ(ไม่ได้ส่วนแบ่งนะคะ อยากแบ่งปันสิ่งดี ๆ ให้ทุกคนค่ะ 😗 )

แต่ก่อนอื่นจะขอเล่า あらすじ คร่าว ๆ สักเล็กน้อยนะคะ!
**Spoiler Alert

นี่เป็นตอนที่ อีเดีย แม็กโนเลีย และยู เจอกับทิซ ซึ่งทิซเนี่ย เป็นหนึ่งในตัวเอกของเกมภาคก่อน แต่ด้วยเหตุผลนู่นนี่นั่นโน่นทิซหลับไปตั้งแต่ตอนจบของภาคก่อนค่ะ มาภาคนี้ปุ๊ป ก็มีตัวร้ายคนใหม่โผล่มาตัวเอกคนใหม่(ยู)ก็ไปเจอกับอีเดีย(หนึ่งในตัวเอกภาคก่อน)และก็แม็กโนเลียซึ่งเป็นตัวละครใหม่เช่นกัน จากนั้นทั้งสามคนก็ไปตามหาร่างของทิซ(ที่หลับอยู่)ที่อยู่ในการควบคุมขององค์กรหนึ่งแล้วก็ช่วยเขาออกมาค่ะ

นี่เป็นบทพูดหลังจากที่แม็กโนเลียไปช่วยทิซออกมาแล้วมารวมตัวกับทุกคนค่ะ

เวอร์ชั่นต้นฉบับคือภาษาญี่ปุ่นนะคะ


กว่าจะพิมพ์เสร็จก้อคือขี้เกียจเขียนต่อแล้วค่ะ แค่ก


อย่างที่เราได้เคยเรียนกันไปในห้อง ภาษาญี่ปุ่นเป็นภาษาที่ต้องการบริบทสูงเพื่อที่จะทำความเข้าใจต่างจากภาษาอังกฤษที่ไม่จำเป็นต้องมีบริบทขนาดนั้นก็สามารถทำความเข้าใจได้ แล้วสองภาษาที่แตกต่างกันมากขนาดนี้ เวลาต้องแปลเนี่ยจะเป็นยังไงบ้างนะ

ไหน ๆ ก็ไหน ๆ เรามาเริ่มกันที่บทพูดแรกกันดีกว่าค่ะ จะได้เห็นภาพชัด ๆ
เราลองมาเทียบบทพูดแรกของแม็กโนเลียกันค่ะ ถ้าลองถอดประโยคออกมาจากบริบท..

ภาษาญี่ปุ่น ここまで来れば大丈夫ね
ภ่าษาอังกฤษ We should be safe here

ในขณะที่ภาษาอังกฤษมาเป็นประโยคที่ต่อให้คนอ่านไม่ทราบบริบทจริง ๆ ก็น่าจะสามารถทำความเข้าใจได้ว่า "ที่ที่พวกเรา(เหล่าตัวเอก)อยู่ตอนนี้น่าจะปลอดภัย"

ส่วนทางฝั่งญี่ปุ่นหากเราไม่รู้มาก่อนว่าเกิดอะไรขึ้นก็อาจจะเกิดความสงสัยได้
"ถ้ามาถึงตรงนี้ได้น่าจะโอเคนะ"
คือก็พอเข้าใจอยู่แหละค่ะ แต่เราจะไม่ทราบด้วยว่าในบริบทนั้นมีกันหลายคน 


จากตรงนี้จะเห็นได้ว่าภาษาอังกฤษไม่ได้แปลจากญี่ปุ่นมาตรง ๆ 
ถ้าแปลตรง ๆ จะไม่มีประธานในประโยค ต้องหาอะไรมายัดไม่งั้นมันจะกลายเป็นแบบว่า
It's okay if come here ซึ่งมันไม่ด้ายยยยยยยยยยยยย
เพราะมันหาประธานไม่ได้ค่ะ error 404 not found มาก ๆ !!!!!!!!!!
คือก็อาจจะพอยัดเยียด ここ หรือ here ให้เป็นประธานได้ แต่สุดท้ายมันก็ไม่สามารถออกมาเป็นประโยคที่รู้เรื่องได้อยู่ดีค่ะ 

ถ้าแปลตรงตัวมันจะกลายเป็น

If come here, okay 

มันแปลตรงตัวบ่ได้จิง ๆ ค่ะ Orz

ขนาดกู้เกิ้ลทรานสเลตยังยัดประธานให้เรียบร้อยเลยค่ะ 



เอ่อ มันก็ยังแปร่ง ๆ นะคะ 
แต่ดูสิคะ!!!! ยัดประธานใหม่มาให้ตั้งสองตัวแหน่ะ


เห็นความต่างระหว่างทั้งสองเวอร์ชั่นแล้วใช่มั้ยคะ

มาดูเมนหลักของเราวันนี้กันดีกว่าค่ะ

การละไว้ในฐานที่เข้าใจของญี่ปุ่น vs ประโยคที่ใจความสมบูรณ์ของภาษาอังกฤษ

อย่างที่เราได้เคยเรียนกันไปในห้องที่เป็นฉากที่รถไฟออกมาจากอุโมงค์ ภาษาญี่ปุ่นเป็นภาษาที่ต้องการบริบทสูงเพื่อที่จะทำความเข้าใจต่างจากภาษาอังกฤษที่ไม่จำเป็นต้องมีบริบทขนาดนั้นก็สามารถทำความเข้าใจได้

เรามาดูกันดีกว่าค่ะ

ภาษาญี่ปุ่น ど、どうしたんだよイデア?いきなり泣き出したりして

ภ่าษาอังกฤษ Wh-whoa, Edea, aren’t we being a little dramatic...?


いきなり泣き出したりして เอาแล้วนะ ไม่จบประโยคเฉยเลย!!!!!!!!!!!!!

แต่ว่านะคะ ประโยคนี้พอรวมกับข้างหน้าเป็น どうしたんだよイデア?いきなり泣き出したりして

ก็เป็นประโยคที่ได้ใจความว่า  "เป็นอะไรไปน่ะอีเดีย อยู่ ๆ ก็ร้องไห้ออกมา"

อ้าว ไม่จบประโยคแต่เริ่ดนะคะอันนี้ ความหมายมาเต็มเชียว
ประโยคที่ไม่สมบูรณ์หรือไม่จบดีเรียกว่า 言いさしの文 ค่ะ
คือก็ไปแอบส่องที่มีคนญี่ปุ่นเค้าเขียนไว้เกี่ยวกับฟังก์ชั่นของประโยคที่จบกลางคันแบบนี้ไว้
ได้ความว่าเวลาลงท้ายด้วยรูป て เนี่ย มันมีฟังก์ชั่นในการละประโยครวมถึงการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างเรื่องที่ต้องการจะให้พูดหรืออธิบายด้วยค่ะ!

อ้างอิง : 浜田麻里『「言いさし文の研究』 : https://www.jstage.jst.go.jp/article/nihongonokenkyu/6/4/6_KJ00007224672/_pdf

ซึ่งก็เหมือนกับที่ทิซกำลังถามว่าอีเดียเป็นอะไรไปพอดีเป๊ะ(ใช่มั้ยนะ....)
แต่เอาจริง ๆ แล้วตรงนี้ก็เหมือนแค่ทิซต้องการจะเน้นถามว่าเป็นอะไรไปมากกว่าเลยสลับตำแหน่งประโยคเท่านั้นก็ได้ค่ะ โอ๊ย ยิ่งคิดยิ่งเจ็บหัว แงแง
ถ้าสลับที่ประโยคเป็น いきなり泣き出したりして、どうしたんだよイデア?
ก็คือเป็นประโยคธรรมดาสามัญที่สมบูรณ์ไปเลย....
จิตใจคนแต่งบทยากแท้หยั่งถึงจริง ๆ ค่ะ
ส่วนตัวคิดว่าด้วยความที่ตกใจที่เห็นอีเดียร้องไห้ทิซเลยถามออกไปก่อนว่าเป็นอะไรไปแล้วค่อยต่อด้วยเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นต่อหน้าทีหลัง ประมาณนี้ค่ะ

ส่วนในภาษาอังกฤษ Edea, aren’t we being a little dramatic...?
ก็ยังคงโครงวสร้างประโยคแบบ S V O อยู่เช่นเคย เป็นประโยคที่สมบูรณ์ด้วย
ถ้าจะแปลตามต้นฉบับจริง ๆ จะเป็น What's up, Edea? Suddenly crying out...
อืม ๆ ก็คิดว่าพอถูไถได้อยู่นะคะประโยคนี้
แต่คนแปลกลับเลือกที่จะทำให้ประโยคมีโครงสร้างแบบประโยคภาษาปะกิดทั่วไปแทน

ทั้งหมดนี้ก็คงเพื่อคงความเป็นภาษาปะกิดไว้ ให้คนเล่นไม่รู้สึกตะขิตตะขวงใจกับโครงสร้างประโยคของภาษาญี่ปุ่นที่ต่างออกไปนั่นเองค่ะ

แต่สิ่งที่ตามมากับการเปลี่ยนรูปประโยคและการเลือกใช้ศัพท์เนี่ย
ก็อาจทำให้ตัวละครดูตรงไปตรงมามากขึ้น หรือทำให้ตัวละครดูไม่พูดจาอ่อนหวานเท่าในต้นฉบับด้วยค่ะ

อย่างทิซในเวอร์ชั่นภาษาอังกฤษเนี่ย ไปใช้คำว่า dramatic กับอีเดียซึ่งเป็นเพื่อนผู้หญิงที่ผ่านร้อนผ่านหนาวมาด้วยกันในภาคแรก ซึ่งตอนเราเล่นก็แอบคิดนะคะว่าทำไมเลือกใช้คำนี้กับเพื่อนที่ร้องไห้เพราะไม่ได้เจอกันเป็นปี ๆ และคิดว่าอาจจะไม่ได้เจอกันแล้วด้วยซ้ำแบบนั้น

ตรงส่วนนี้เรารู้สึกว่าทำให้คาร์แร็กเตอร์ของทิซต่างจากเวอร์ชั่นภาษาญี่ปุ่นไปหน่อยด้วยค่ะ
ทั้งตรงไปตรงมามากขึ้น และพูดจาชัดค่อยชัดคำกว่า

ตรงจุดนี้คาดว่าอาจเป็นเพราะคนที่แปลเกมอยากให้ทิซมีคาร์แร็กเตอร์ที่คนชาวอเมริกาจะ relate ได้มากกว่าทิซในเวอร์ชั่นญีุ่ปุ่นที่จะพุดจาอ้อม ๆ กว่าและค่อนข้างสุภาพ อย่างที่เห็นได้จากการเรียกแทนตัวเองว่า 僕 (ถึงจะถ่ายทอดออกมาเป็นภาษาปะกิดไม่ได้อยู่แล้วก็เถอะ)


ซึ่งนี่เป็นสิ่งที่ทั้งคนแปลและทีมงาน localize เกมต้องคำนึงถึง เพราะกลุ่มเป้าหมายเปลี่ยนจากคนญี่ปุ่นเป็นคนอเมริกา การพยายามบิดหรือปรับตัวละครและส่วนประกอบต่าง ๆ ของเกมเพื่อจะ appeal กลุ่มเป้าหมายนั้นเป็นเรื่องปกติค่ะ บางเกมถึงกับปรับโมเดลตัวละครในเกมให้ดูมีความตะวันตกมากขึ้นเลยทีเดียว (เช่น การเปลี่ยนสีผม การปรับชุด หรือแม้กระทั่งปรับสรีระตัวละครก็มีค่ะแต่ไม่ได้เห็นได้บ่อย ๆ )


เนี่ย ตอนค้นคว้าคือเจออะไรที่ทำให้รู้สึกว่าการ localize นี่มันเป็นศาสตร์ที่สุดยอดมากจริง ๆ ค่ะ
ทั้งต้องใช้จินตนาการ ต้องปรับให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมายใหม่ 
มันไม่ใช่แค่เอา text ต้นฉบับมาแล้วก็แปล ๆๆๆๆๆ เหมือนเครื่องจักรเลย 
มีอะไรอีกเยอะมาก ๆ ที่ทำให้เรารู้สึกว่าเมืองไทยน่าจะมีการ localize เกมบ้าง อยากรู้ว่ามันจะออกมาแบบไหน จะแค่แปลตรงตัวตามต้นฉบับมั้ย

แต่ก็คงต้องรอกันไปยาว ๆ ค่ะ 

ด้วยประการฉะนี้ก็ขอจบกันไปกับ ว่าด้วยเรื่องการแปลเกม 2 

แล้วเจอกันในพาร์ท 3 นะคะ(ที่ไม้รู้ว่าจะมาเมื่อไหร่)  

ราตรีสวัสดิ์ค่ะ (´▽`ʃ♡ƪ) 



ความคิดเห็น

  1. ตัวอย่างปัญหาการแปลภาษาญี่ปุ่นใน blog นี้ เข้าใจง่ายมาก 言いさし文 เป็นลักษณะของภาษาญี่ปุ่นเลยค่ะ google translation คงจัดการเรื่องแบบนี้ในภาษาญี่ปุ่นยาก 555

    ตอบลบ
  2. 言いさしนี่เห็นด้วยกับคุณKKมาก ถ้าไม่สามารถพัฒนาคอมให้ฉลาดเท่ามนุษย์ได้ก็คงแปลไม่ได้

    ตอบลบ

แสดงความคิดเห็น