กลับมาอีกครั้งกับการพยายามจะวิเคราะห์เกมค่ะ
เนื่องจากนี่คงเป็นบล็อกเกี่ยวกับเกมอันสุดท้ายก่อนจะเข้าการสรุปแล้ว วันนี้น่าจะมีสาระมากกว่าปกติค่ะ
ว่าแล้วเราก็มาดูเรื่องที่จะพูดคร่าว ๆ กันดีกว่าค่ะ
โดยรวมแล้วหัวข้อหลักของเราคือออออออออ
มาค่ะ เรามาเริ่มกันเร๊ย
การใช้ภาษาเก่าในเซตติ้งแฟนตาซี
หนึ่งในเทคนิคที่เราเห็นบ่อย ๆ ในเกมที่มีเซ็ตติ้งเป็นโลกแฟนตาซีเนี่ย
คือการใช้ภาษาเก่า คําแปลก ๆ หรือคําที่คนสมัยนี้ไม่ใช้กันค่ะ ก็จะมีทั้งใช้กับบทพูดของตัวละคร หรือใช้บรรยายฉาก เนื้อเรื่องต่าง ๆ หรืออยู่ในพวกข้อมูล เกร็ดเล็กเกร็ดน้อยที่ผู้เล่นสามารถกดเข้าไปอ่านได้ค่ะ
ตรงนี้เนี่ย จะช่วยสร้างสีสันและความรู้สึกเหมือนกับเหยียบเข้าไปอีกโลกหนึ่งให้กับผู้เล่นได้ค่ะ
สมมติถ้าเราเล่นเกมแฟนตาซีที่มีนักรบ มีจอมเวทย์ แต่ทุกคนใช้ภาษาปัจจุบันเหมือน ๆ กันหมดก็คงจะน่าเบื่อน่าดูใช่มั้ยล่ะคะ
แน่นอนว่าระหว่างเวอร์ชั่นภาษาญี่ปุ่นกับภาษาอังกฤษเนี่ยต้องแตกต่างกันอยู่แล้ว
แต่จะแตกต่างกันอย่างไรบ้าง
เรามาเริ่มที่ภาษาญี่ปุ่นกันดีกว่าค่ะ
ถ้าใครเคยดูอนิเมะที่เกี่ยวกับซามุไร อาจจะเคยได้ยินตัวละครลงท้ายคําพูดด้วย ござる อะไรเถือกนี้
ซึ่งพอเราได้ยินคําประมาณนี้มีป เราก็จะเก็ตว่า เออ นี่นะคนนี้คือซามุไร
คําเหล่านี้ที่ทําให้คนฟังสามารถรับสถานะของคนพูดได้คือ 役割語
แต่วันนี้เราจะขอไปพูดถึงอีกเรื่องนะคะเพราะมีเพื่อนทําแจปพิสอดเกี่ยวกับเรื่องนี้แล้ว อย่าลืมไปดูกันค่า
มาค่ะ เข้าเรื่องกันต่อเด๋วมั่ยจบ
คําโบราณเนี่ย คนญี่ปุ่นเค้าเรียกกันว่า 古語 ค่ะ
แล้วคุณ Lu Liu เนี่ยเขาสังเกตเห็นว่า
บางครั้งการใช้ภาษาโบราณในพวกฟิคชั่นไม่ว่าจะเป็น นิยาย เกม หรือภาพยนตร์ก็แล้วแต่ ต่อจะให้เซ็ตติ้งโบราณแค่ไหนหรืออยู่ในยุคที่มีการบันทึกไว้มากแค่ไหน ส่วนใหญ่ก็จะมีความเป็นภาษาปัจจุบันปะปนอยู่ด้วยค่ะ
ไม่ว่าจะเป็นการใช้แกรมม่าปัจจุบันผสมกับคําในประโยคที่เป็นคําโบราณ หรือการผันกริยาต่าง ๆ ให้เป็นรูปแบบโบราณอะไรแบบนี้ค่ะ
คําพวกนี้ที่ถูกนำมาใช้เพื่อสร้างความโบราณให้กับงานฟิคชั่นเนี่ยในวิจัย 現代の時代ものフィクション作品における「疑似古語」についての日中対照研究 ของคุณ Lu Liu เค้าเสนอให้ใช้คำว่า 疑似古語 ค่ะ จึงจะขอยืมคำตรงนี้มาใช้ในการพูดถึงต่อไปนะคะ
ส่วนตัวแล้วเราว่าสาเหตุหลัก ๆ ที่ทําให้เกิด 疑似古語 ในลักษณะนี้ จะมีอยู่สองข้อคือ
• ถ้าใช้ภาษาโบราณจริง ๆ ทั้งหมด คนดูอาจจะไม่เข้าใจ
• ต้องเสียทรัพยาการเพื่อการเขียนมากขึ้นในกรณีที่จะใช้ภาษาโบราณทั้งหมด
ต่อมาเรามาดูคําที่ปรากฏในบทพูดระหว่างตัวละครโยโกะกับดันซะบุโรในเกมกันค่ะ
ทั้งสองคนเป็นตัวละครที่มาจากเมืองยุโนะฮะนะ ซึ่งเป็นเมืองสไตล์ญี่ปุ่นเมืองเดียวในเกมนี้ค่ะ
ต้องขอเล่าก่อนนิดนุงว่าดันซะบุโรเป็นผู้ชายตัวสูงใหญ่ ผมดํา ใส่หมวกฟางปิดหน้า และพกคะตะนะค่ะ
ก็แทบจะเรียกได้ว่ามาแนวภาพจำของซามุไรเลยล่ะค่ะ 555555
จากบทพูดตรงนี้ถ้าอ้างอิงจากเว็บไซต์ https://kobun.weblio.jp/ ซึ่งเป็นเว็บไซต์รวบรวมคําศัพท์โบราณ จะแยกคําโบราณออกมาได้แก่
1. 左様(さよう)なり = そのようだ
2. 難儀(なんぎ)なり = 困難だ
3. それがし = สรรพนามบุรุษที่ 1 ใช้ในหมู่นักรบ
4. 申す = 言う
5. ござる = いらっしゃる、 รูปสุภาพของ ある、いる
6. 貴殿(きでん) = 貴方様
ทั้งหมดมีเพียงหกคํานี้เท่านั้นค่ะที่ปรากฏในดิคชันนารี่ของคําโบราณ
เรามาดูคําที่น่าสนใจกันค่ะ
左様なり คํานี้ในตัวบทพูดจริง ๆ ใช้ว่า 左様であった ซึ่งพอเราเสิร์ชแค่คําว่า 左様 อย่างเดียวเนี่ยมันไม่ขึ้นมาค่ะ มีแค่ 左様なり เท่านั้น เหมือนกันกับคําว่า 難儀なり ที่ในเกมใช้ว่า 難儀していた แทนเลยค่ะ
ซึ่งอ้างอิงจากเว็บไซต์ด้านบนสองคํานี้คือ 形容動詞 ประเภท なり活用 ค่ะ
なり活用 คือ 形容動詞 ที่ต่อท้ายด้วย なり、なれ、なる เกิดจากการที่คำลงท้ายคํา
คุณศัพท์อย่าง にไปรวมกับคำกริยา ありค่ะ เทียบกับภาษาปัจจุบันคือรูปคำคุณศัพท์ลงท้ายด้วย だ
ซึ่งพอไปดูตารางของคุณ Lu Liu ที่รวบรวม 疑似古語 ไว้เนี่ยก็พบว่า 左様 เป็นหนึ่งในคําที่เขาจัดได้ว่าเป็น 疑似古語 จริง ๆ ค่ะ ว้าย!!!(ว้ายอะไร?)
ส่วน難儀 ไม่พบในตารางค่ะ แต่หากเสิร์ชว่า 難儀するก็จะมีความหมายขึ้นมาปกติค่ะ
เราก็จะขออนุมานไว้ว่ามันเป็นภาษาปัจจุบันของคําโบราณทั้งสองค่ะ
เท่านี้เราก็พอจะพูดได้ว่า คําโบราณในภาษาญี่ปุ่นที่นํามาใช้เพื่อสร้างความหลากหลายเนี่ย ไม่จําเป็นต้องใช้ถูก หรือใช้ตามแบบฉบับโบราณเป๊ะ ๆ เพราะว่าภาษามีการเปลี่ยนแปลง ถ้าใช้ภาษาเก่าทั้งหมดคนในยุคปัจจุบันอาจจะไม่เข้าใจ
ซึ่งตรงนี้เราว่ามันเกี่ยวข้องกับการ alienation ที่เคยเขียนไว้ในบล็อคก่อนหน้านี้ค่ะ จิ้มเรย
กลายเป็นว่าไม่ว่าจะยังไงก็ตาม เราต้องคํานึงว่าคนที่เสพสื่อจะอินมั้ย จะเข้าใจได้มั้ยเป็นหลักค่ะ
ไม่งั้นกลุ่มเป้าหมายของงานอาจจะเหลือแค่คนที่รู้หรือเข้าใจภาษาโบราณเท่านั้นก็เป็นได้ //จด ๆ
เอาล่ะค่ะ มาต่อกันที่ส่วนภาษาอังกฤษกันดีกว่า
สิ่งที่เกิดขึ้นในภาษาอังกฤษซึ่งคล้ายคลึงกับการใช้คําโบราณในภาษาญี่ปุ่นคือ Archaism ค่ะ
ซึ่งนิยามของ Archaism คือคําหรือรูปประโยคที่ใช้ในสมัยโบราณ หรืออาจจะเป็นที่รู้จักกันในปัจจุบัน แต่ไม่ใช้กันในชีวิตประจําวันค่ะ
Archaism จะสามารถพบได้ในวรรณกรรมหรือฟิคชั่นอื่น ๆ ค่ะ
ในภาษาอังกฤษที่เราว่าพบเห็นได้บ่อยคือ
การใช้สรรพนาม Thou Thy Thee อะไรทํานองนี้ค่ะ
พวกนี้เป็นสรรพนามที่ใช้ในภาษาอังกฤษเก่า ๆ แต่สามารถพบเห็นได้บ่อยตามงานเขียนค่ะ
ฟังก์ชั่นของ Archaism ในฟิคชั่นก็ไม่ต่างจาก 古語 เท่าไหร่ค่ะ เหล่านี้ทําให้งานเขียนดูลึกลับหรือมีกลิ่นอายของความเก่าแก่ได้ไม่ยากค่ะ
ขออนุญาตยกตัวอย่างค่ะ
นี่เป็นส่วนหนึ่งเพลงของชาวคริสต์ ในช่วง 1880s ที่ถูกแปลเป็นภาษาอังกฤษในช่วงปี 1900 ค่ะ
นี่คือการใช้ Archaism ในเพลงที่ขับร้องในปัจจุบันค่ะ
ถ้าร้องว่า How great you are ส่วนตัวแล้วเราว่ามันไม่อิมแพคเท่า How great thou art เลย
ก็มโนไปแล้วค่ะว่าที่เค้าไม่เปลี่ยนเนื้อก็เพื่อความขลังนี่เอง
เวิ่นเว้อสักพักแล้วเรามาต่อกันดีกว่าค่ะ ขออนุญาตแปะอีกรอบ
ตอนนี้นะคะเราจะมาโฟกัสที่ประโยค Pray forgive your unworthy brother กันค่ะ
ตอนแรกอ่านแล้วก็ เอ๊ะ จะมาสวดมงสวดมนต์อะไรกันเรอะ
แต่ปรากฎว่าไปเสิร์ชมาก็ถึงกับบางอ้อว่านี่เป็นหนึ่งใน Archaic Words ของ Middle English (ภาษาอังกฤษในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 11 ถึง 15) นี่เอง
Pray ในสมัยก่อน แปลว่า การขออะไรบางอย่างจากใครสักคนด้วยความ เอ่อ หนักแน่นค่ะ ประมาณนี้ย
ประโยคที่ว่าจึงแปลเป็น ช่วยให้อภัยพี่ที่ไร้ค่าของเธอทีเถอะ โอ้มาย
นอกจากคําว่า Pray ที่ว่านี้แล้วไม่มีคําอื่นที่เป็นคําเก่าจริง ๆ เลยค่ะ ถ้าแค่ภายในบทพูดที่ยกมา
แต่ที่ทําให้คาร์แร็คเตอร์ของดันซะบุโรชัดเจนและมีมิติมากขึ้นคือการเรียงลําดับคําในประโยคค่ะ
อย่าง Then I, too, am in your debt ถ้าเป็นปกติแค่พูดว่า Then I am in your debt too ก็จบแล้ว
แต่การเรียงรูปประโยคที่ต่างออกไปแบบนี้ก็ช่วยเพิ่มความหลากหลายให้กับตัวละครได้โดยไม่ต้องอาศัยการใช้คําเก่ามายัด ๆ ลงไปค่ะ อีกอย่างที่เห็นค่อนข้างชัดคือดันซะบุโรจะไม่ใช่รูปย่อค่ะ
เช่น I do not believe we have met เขาก็ไม่ใช้ don’t ตรงนี้เราว่าคนแปลจงใจไม่ใช่รูปย่อ เพื่อให้เขาดูสุภาพหรือเป็นคนแข็ง ๆ มากขึ้นค่ะ
(ตัวอย่างการสลับโครงสร้างประโยคเพื่อสร้างคาร์แร็คเตอร์ที่น่าจะเห็นภาพชัดก็วิธีการพูดของโยดาจากสตาร์วอร์สค่ะ)
จะเห็นได้ว่าถึงภาคภาษาอังกฤษจะแปลมาจากญี่ปุ่นอีกที แต่กลับไม่จําเป็นต้องยึดติดกับรูปแบบที่ภาษาญี่ปุ่นสร้างไว้เพียงเท่านั้น พอญี่ปุ่นมาเป็น 古語 ภาษาอังกฤษก็ไม่จําเป็นต้อง ใส่ Archaic Words เข้าสู้ตามต้นฉบับทั้งหมด แต่กลับเลือกใช้คําทั่ว ๆ ไป แต่แต่งเติมสีสันและลีลาให้กับประโยคเหล่านั้นแทนเพื่อสร้างความหลากหลายให้กับตัวละครในเซ็ตติ้งแฟนตาซีเช่นนี้
พอเขียนบล็อกมาถึงตรงนี้ส่วนตัวเราว่าการแปลเกมแม้จะมีอุปสรรคของมันเอง แต่นักแปลจะมีอิสระในการแปลมากกว่าการแปลหนังหรือการแปลหนังสือค่ะ
เพราะเกมเนี่ย เราไม่ได้แค่อ่านหรือฟังหรือดูเพียงอย่างเดียว แต่การที่การเล่น หรือการเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งภายในเกมจริง ๆ ทําให้ความสําคัญของการแปลให้เป๊ะกับต้นฉบับลดลงค่ะ
ก็ขอจบบล็อคการ(พยายามจะ)วิเคราะห์ภาษาในเกมเอาไว้เพียงเท่านี้
ในที่สุดเราก็มาถึงฝั่งกันแล้วค่ะ อาจจะคาดเคลื่อนกับเป้าหมายแรกไปสักนิด
ขอบคุณทุกคนที่เข้ามาอ่านหรือให้ความสนใจนะคะ อาจจะมีผิดพลาดบ้างอะไรบ้าง ดูเมากาวบ้างอะไรบ้าง
ส่วนวันนี้ขอลาไปก่อน แล้วพบกันใหม่ในบล็อกสรุปนะคะ (✿◡‿◡)
เอกสารอ้างอิง
リュウ, ロ (2013) 「現代の時代ものフィクション作品における『疑似古語』についての日中対照研究」https://ir.library.osaka-u.ac.jp/repo/ouka/all/26221/26316_%E8%AB%96%E6%96%87.pdf (2020/12/05アクセス)
ดิคชันนารี่ภาษาญี่ปุ่นที่ใช้ kobun.weblio.jp
ดิคชันนารี่ภาษาอังกฤษที่ใช้ https://www.oxfordlearnersdictionaries.com
เนื่องจากนี่คงเป็นบล็อกเกี่ยวกับเกมอันสุดท้ายก่อนจะเข้าการสรุปแล้ว วันนี้น่าจะมีสาระมากกว่าปกติค่ะ
ว่าแล้วเราก็มาดูเรื่องที่จะพูดคร่าว ๆ กันดีกว่าค่ะ
โดยรวมแล้วหัวข้อหลักของเราคือออออออออ
"ความแตกต่างระหว่างภาษาอังกฤษกับภาษาญี่ปุ่น
ในความพยายามทีจะสร้างความหลากหลายให้เช็ตติ้งแฟนตาซี"
มาค่ะ เรามาเริ่มกันเร๊ย
การใช้ภาษาเก่าในเซตติ้งแฟนตาซี
หนึ่งในเทคนิคที่เราเห็นบ่อย ๆ ในเกมที่มีเซ็ตติ้งเป็นโลกแฟนตาซีเนี่ย
คือการใช้ภาษาเก่า คําแปลก ๆ หรือคําที่คนสมัยนี้ไม่ใช้กันค่ะ ก็จะมีทั้งใช้กับบทพูดของตัวละคร หรือใช้บรรยายฉาก เนื้อเรื่องต่าง ๆ หรืออยู่ในพวกข้อมูล เกร็ดเล็กเกร็ดน้อยที่ผู้เล่นสามารถกดเข้าไปอ่านได้ค่ะ
ตรงนี้เนี่ย จะช่วยสร้างสีสันและความรู้สึกเหมือนกับเหยียบเข้าไปอีกโลกหนึ่งให้กับผู้เล่นได้ค่ะ
สมมติถ้าเราเล่นเกมแฟนตาซีที่มีนักรบ มีจอมเวทย์ แต่ทุกคนใช้ภาษาปัจจุบันเหมือน ๆ กันหมดก็คงจะน่าเบื่อน่าดูใช่มั้ยล่ะคะ
แน่นอนว่าระหว่างเวอร์ชั่นภาษาญี่ปุ่นกับภาษาอังกฤษเนี่ยต้องแตกต่างกันอยู่แล้ว
แต่จะแตกต่างกันอย่างไรบ้าง
เรามาเริ่มที่ภาษาญี่ปุ่นกันดีกว่าค่ะ
การใช้ 古語 ในฟิคชั่น
ถ้าใครเคยดูอนิเมะที่เกี่ยวกับซามุไร อาจจะเคยได้ยินตัวละครลงท้ายคําพูดด้วย ござる อะไรเถือกนี้
ซึ่งพอเราได้ยินคําประมาณนี้มีป เราก็จะเก็ตว่า เออ นี่นะคนนี้คือซามุไร
คําเหล่านี้ที่ทําให้คนฟังสามารถรับสถานะของคนพูดได้คือ 役割語
แต่วันนี้เราจะขอไปพูดถึงอีกเรื่องนะคะเพราะมีเพื่อนทําแจปพิสอดเกี่ยวกับเรื่องนี้แล้ว อย่าลืมไปดูกันค่า
มาค่ะ เข้าเรื่องกันต่อเด๋วมั่ยจบ
คําโบราณเนี่ย คนญี่ปุ่นเค้าเรียกกันว่า 古語 ค่ะ
แล้วคุณ Lu Liu เนี่ยเขาสังเกตเห็นว่า
บางครั้งการใช้ภาษาโบราณในพวกฟิคชั่นไม่ว่าจะเป็น นิยาย เกม หรือภาพยนตร์ก็แล้วแต่ ต่อจะให้เซ็ตติ้งโบราณแค่ไหนหรืออยู่ในยุคที่มีการบันทึกไว้มากแค่ไหน ส่วนใหญ่ก็จะมีความเป็นภาษาปัจจุบันปะปนอยู่ด้วยค่ะ
ไม่ว่าจะเป็นการใช้แกรมม่าปัจจุบันผสมกับคําในประโยคที่เป็นคําโบราณ หรือการผันกริยาต่าง ๆ ให้เป็นรูปแบบโบราณอะไรแบบนี้ค่ะ
คําพวกนี้ที่ถูกนำมาใช้เพื่อสร้างความโบราณให้กับงานฟิคชั่นเนี่ยในวิจัย 現代の時代ものフィクション作品における「疑似古語」についての日中対照研究 ของคุณ Lu Liu เค้าเสนอให้ใช้คำว่า 疑似古語 ค่ะ จึงจะขอยืมคำตรงนี้มาใช้ในการพูดถึงต่อไปนะคะ
ส่วนตัวแล้วเราว่าสาเหตุหลัก ๆ ที่ทําให้เกิด 疑似古語 ในลักษณะนี้ จะมีอยู่สองข้อคือ
• ถ้าใช้ภาษาโบราณจริง ๆ ทั้งหมด คนดูอาจจะไม่เข้าใจ
• ต้องเสียทรัพยาการเพื่อการเขียนมากขึ้นในกรณีที่จะใช้ภาษาโบราณทั้งหมด
ต่อมาเรามาดูคําที่ปรากฏในบทพูดระหว่างตัวละครโยโกะกับดันซะบุโรในเกมกันค่ะ
ทั้งสองคนเป็นตัวละครที่มาจากเมืองยุโนะฮะนะ ซึ่งเป็นเมืองสไตล์ญี่ปุ่นเมืองเดียวในเกมนี้ค่ะ
ต้องขอเล่าก่อนนิดนุงว่าดันซะบุโรเป็นผู้ชายตัวสูงใหญ่ ผมดํา ใส่หมวกฟางปิดหน้า และพกคะตะนะค่ะ
ก็แทบจะเรียกได้ว่ามาแนวภาพจำของซามุไรเลยล่ะค่ะ 555555
บทสนทนาระหว่างโยโกะกับดันซะบุโรในบทที่สองของเกม Bravely Second |
จากบทพูดตรงนี้ถ้าอ้างอิงจากเว็บไซต์ https://kobun.weblio.jp/ ซึ่งเป็นเว็บไซต์รวบรวมคําศัพท์โบราณ จะแยกคําโบราณออกมาได้แก่
1. 左様(さよう)なり = そのようだ
2. 難儀(なんぎ)なり = 困難だ
3. それがし = สรรพนามบุรุษที่ 1 ใช้ในหมู่นักรบ
4. 申す = 言う
5. ござる = いらっしゃる、 รูปสุภาพของ ある、いる
6. 貴殿(きでん) = 貴方様
ทั้งหมดมีเพียงหกคํานี้เท่านั้นค่ะที่ปรากฏในดิคชันนารี่ของคําโบราณ
เรามาดูคําที่น่าสนใจกันค่ะ
左様なり คํานี้ในตัวบทพูดจริง ๆ ใช้ว่า 左様であった ซึ่งพอเราเสิร์ชแค่คําว่า 左様 อย่างเดียวเนี่ยมันไม่ขึ้นมาค่ะ มีแค่ 左様なり เท่านั้น เหมือนกันกับคําว่า 難儀なり ที่ในเกมใช้ว่า 難儀していた แทนเลยค่ะ
ซึ่งอ้างอิงจากเว็บไซต์ด้านบนสองคํานี้คือ 形容動詞 ประเภท なり活用 ค่ะ
なり活用 คือ 形容動詞 ที่ต่อท้ายด้วย なり、なれ、なる เกิดจากการที่คำลงท้ายคํา
คุณศัพท์อย่าง にไปรวมกับคำกริยา ありค่ะ เทียบกับภาษาปัจจุบันคือรูปคำคุณศัพท์ลงท้ายด้วย だ
อ่ะห้า!!!
นั่นไงคะ!!! พบแล้วค่ะ
左様であった กับ 難儀していた ภาษาโบราณไม่จิง 2 ea !!!!
ส่วน難儀 ไม่พบในตารางค่ะ แต่หากเสิร์ชว่า 難儀するก็จะมีความหมายขึ้นมาปกติค่ะ
เราก็จะขออนุมานไว้ว่ามันเป็นภาษาปัจจุบันของคําโบราณทั้งสองค่ะ
เท่านี้เราก็พอจะพูดได้ว่า คําโบราณในภาษาญี่ปุ่นที่นํามาใช้เพื่อสร้างความหลากหลายเนี่ย ไม่จําเป็นต้องใช้ถูก หรือใช้ตามแบบฉบับโบราณเป๊ะ ๆ เพราะว่าภาษามีการเปลี่ยนแปลง ถ้าใช้ภาษาเก่าทั้งหมดคนในยุคปัจจุบันอาจจะไม่เข้าใจ
ซึ่งตรงนี้เราว่ามันเกี่ยวข้องกับการ alienation ที่เคยเขียนไว้ในบล็อคก่อนหน้านี้ค่ะ จิ้มเรย
กลายเป็นว่าไม่ว่าจะยังไงก็ตาม เราต้องคํานึงว่าคนที่เสพสื่อจะอินมั้ย จะเข้าใจได้มั้ยเป็นหลักค่ะ
ไม่งั้นกลุ่มเป้าหมายของงานอาจจะเหลือแค่คนที่รู้หรือเข้าใจภาษาโบราณเท่านั้นก็เป็นได้ //จด ๆ
เอาล่ะค่ะ มาต่อกันที่ส่วนภาษาอังกฤษกันดีกว่า
Archaism คือ?
สิ่งที่เกิดขึ้นในภาษาอังกฤษซึ่งคล้ายคลึงกับการใช้คําโบราณในภาษาญี่ปุ่นคือ Archaism ค่ะ
ซึ่งนิยามของ Archaism คือคําหรือรูปประโยคที่ใช้ในสมัยโบราณ หรืออาจจะเป็นที่รู้จักกันในปัจจุบัน แต่ไม่ใช้กันในชีวิตประจําวันค่ะ
Archaism จะสามารถพบได้ในวรรณกรรมหรือฟิคชั่นอื่น ๆ ค่ะ
ในภาษาอังกฤษที่เราว่าพบเห็นได้บ่อยคือ
การใช้สรรพนาม Thou Thy Thee อะไรทํานองนี้ค่ะ
พวกนี้เป็นสรรพนามที่ใช้ในภาษาอังกฤษเก่า ๆ แต่สามารถพบเห็นได้บ่อยตามงานเขียนค่ะ
ฟังก์ชั่นของ Archaism ในฟิคชั่นก็ไม่ต่างจาก 古語 เท่าไหร่ค่ะ เหล่านี้ทําให้งานเขียนดูลึกลับหรือมีกลิ่นอายของความเก่าแก่ได้ไม่ยากค่ะ
ขออนุญาตยกตัวอย่างค่ะ
นี่เป็นส่วนหนึ่งเพลงของชาวคริสต์ ในช่วง 1880s ที่ถูกแปลเป็นภาษาอังกฤษในช่วงปี 1900 ค่ะ
How great thou art, how great thou art
ในภาษาปัจจุบันเท่ากับ How great you are
ถ้าร้องว่า How great you are ส่วนตัวแล้วเราว่ามันไม่อิมแพคเท่า How great thou art เลย
ก็มโนไปแล้วค่ะว่าที่เค้าไม่เปลี่ยนเนื้อก็เพื่อความขลังนี่เอง
เวิ่นเว้อสักพักแล้วเรามาต่อกันดีกว่าค่ะ ขออนุญาตแปะอีกรอบ
ตอนนี้นะคะเราจะมาโฟกัสที่ประโยค Pray forgive your unworthy brother กันค่ะ
ตอนแรกอ่านแล้วก็ เอ๊ะ จะมาสวดมงสวดมนต์อะไรกันเรอะ
แต่ปรากฎว่าไปเสิร์ชมาก็ถึงกับบางอ้อว่านี่เป็นหนึ่งใน Archaic Words ของ Middle English (ภาษาอังกฤษในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 11 ถึง 15) นี่เอง
Pray ในสมัยก่อน แปลว่า การขออะไรบางอย่างจากใครสักคนด้วยความ เอ่อ หนักแน่นค่ะ ประมาณนี้ย
ประโยคที่ว่าจึงแปลเป็น ช่วยให้อภัยพี่ที่ไร้ค่าของเธอทีเถอะ โอ้มาย
นอกจากคําว่า Pray ที่ว่านี้แล้วไม่มีคําอื่นที่เป็นคําเก่าจริง ๆ เลยค่ะ ถ้าแค่ภายในบทพูดที่ยกมา
แต่ที่ทําให้คาร์แร็คเตอร์ของดันซะบุโรชัดเจนและมีมิติมากขึ้นคือการเรียงลําดับคําในประโยคค่ะ
อย่าง Then I, too, am in your debt ถ้าเป็นปกติแค่พูดว่า Then I am in your debt too ก็จบแล้ว
แต่การเรียงรูปประโยคที่ต่างออกไปแบบนี้ก็ช่วยเพิ่มความหลากหลายให้กับตัวละครได้โดยไม่ต้องอาศัยการใช้คําเก่ามายัด ๆ ลงไปค่ะ อีกอย่างที่เห็นค่อนข้างชัดคือดันซะบุโรจะไม่ใช่รูปย่อค่ะ
เช่น I do not believe we have met เขาก็ไม่ใช้ don’t ตรงนี้เราว่าคนแปลจงใจไม่ใช่รูปย่อ เพื่อให้เขาดูสุภาพหรือเป็นคนแข็ง ๆ มากขึ้นค่ะ
(ตัวอย่างการสลับโครงสร้างประโยคเพื่อสร้างคาร์แร็คเตอร์ที่น่าจะเห็นภาพชัดก็วิธีการพูดของโยดาจากสตาร์วอร์สค่ะ)
สรุป
เทคนิคการใช้คําโบราณแฝงมาในรูปแบบประโยคทั่วไปในปัจจุบันช่วยเสริมสร้างคาร์แร็คเตอร์ของตัวละครได้โดยไม่จําเป็นต้องใช้ภาษาเก่าให้เป๊ะหรือใช้ภาษาเก่า 100 เปอร์เซ็นต์ แค่เลือกคําที่จะใช้ให้ดีก็เพียงพอแล้วจะเห็นได้ว่าถึงภาคภาษาอังกฤษจะแปลมาจากญี่ปุ่นอีกที แต่กลับไม่จําเป็นต้องยึดติดกับรูปแบบที่ภาษาญี่ปุ่นสร้างไว้เพียงเท่านั้น พอญี่ปุ่นมาเป็น 古語 ภาษาอังกฤษก็ไม่จําเป็นต้อง ใส่ Archaic Words เข้าสู้ตามต้นฉบับทั้งหมด แต่กลับเลือกใช้คําทั่ว ๆ ไป แต่แต่งเติมสีสันและลีลาให้กับประโยคเหล่านั้นแทนเพื่อสร้างความหลากหลายให้กับตัวละครในเซ็ตติ้งแฟนตาซีเช่นนี้
พอเขียนบล็อกมาถึงตรงนี้ส่วนตัวเราว่าการแปลเกมแม้จะมีอุปสรรคของมันเอง แต่นักแปลจะมีอิสระในการแปลมากกว่าการแปลหนังหรือการแปลหนังสือค่ะ
เพราะเกมเนี่ย เราไม่ได้แค่อ่านหรือฟังหรือดูเพียงอย่างเดียว แต่การที่การเล่น หรือการเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งภายในเกมจริง ๆ ทําให้ความสําคัญของการแปลให้เป๊ะกับต้นฉบับลดลงค่ะ
สิ่งที่สําคัญไม่ใช่กลัวว่าคนเล่นจะมาฉอดที่แปลนอกบทหรือต่างกับต้นฉบับมั้ย
แต่คือคนเล่นจะอินมั้ยประมาณนี้ค่ะ
ก็ขอจบบล็อคการ(พยายามจะ)วิเคราะห์ภาษาในเกมเอาไว้เพียงเท่านี้
ในที่สุดเราก็มาถึงฝั่งกันแล้วค่ะ อาจจะคาดเคลื่อนกับเป้าหมายแรกไปสักนิด
ขอบคุณทุกคนที่เข้ามาอ่านหรือให้ความสนใจนะคะ อาจจะมีผิดพลาดบ้างอะไรบ้าง ดูเมากาวบ้างอะไรบ้าง
ส่วนวันนี้ขอลาไปก่อน แล้วพบกันใหม่ในบล็อกสรุปนะคะ (✿◡‿◡)
เอกสารอ้างอิง
リュウ, ロ (2013) 「現代の時代ものフィクション作品における『疑似古語』についての日中対照研究」https://ir.library.osaka-u.ac.jp/repo/ouka/all/26221/26316_%E8%AB%96%E6%96%87.pdf (2020/12/05アクセス)
ดิคชันนารี่ภาษาญี่ปุ่นที่ใช้ kobun.weblio.jp
ดิคชันนารี่ภาษาอังกฤษที่ใช้ https://www.oxfordlearnersdictionaries.com
blog นี้จะช่วยให้ดูหนังซามุไร เล่นเกมส์แนวซามุไรได้ดีเลย 古語 มันมีไวยากรณ์ต่างกับปัจจุบันมากเลย แต่มีแบบ 疑似古語 ด้วย (เห...) จักรๆวงศ์ๆของภาษาอังกฤษก็สนุกดีด้วย
ตอบลบชอบมากกกกกกกกกกกกกกกก คือเคยคิดแบบเล่นๆว่าภาษาเก่าๆในละครมันดู "ไม่เก่าจริง" แต่ก็ไม่เคยค้นคว้าต่อจริงจังว่าเออมันเปนเรื่อง疑似古語 ซึ่งต้องขอยืนยันเลยว่า ถ้ามาแบบโบราณจริงอ่านไม่ออกแน่นอน555555555555 เคยได้ยินจากคนญปมาว่าวิชา 国語 ตอนสอบเข้ามหาวิทยาลัยในพาร์ท 古文 คะแนนเฉลี่ยเด็กญปคือต่ำเตี้ยเรี่ยดิน ถ้าถามของภาษาไทยนี่ก็ลองนึกถึงตอนวรรณคดีเก่าๆอย่างลิลิตพระลอ จำได้ว่าskipไปบทแปลเท่านั้นเพราะไม่รู้เรื่อง วรรณคดีอังกฤษไม่เคยอ่านที่เก่ามากๆเคยแค่อ่าน text จากสมัย age of discovery ซึ่งอ่านแล้วคือนั่งเหม่อ น้ำลายยืดเพราะไม่เข้าใจอะไรเลย เออเพราะงั้นก็ต้องแต่งเป็น "ภาษาโบราณแบบปลอมๆ" ให้อ่านได้อรรถรส(และยังคงรู้เรื่อง) แทน ตั้งข้อสังเกตุได้อุจจาระระเบิดมากกกก
ตอบลบอู้ย ไม่อยากคิดภาพพาสาโบราณจิง ๆ เลยค่ะ แค่ 春はあけぼの ก็ตาแตกแล้วตาแแตกอีก ขนาดวรรณกรรมยุคใหม่กว่านั้นยังอ่านมะค่อยจะรุ้เรื่องเรยค่า ของพาสาไทยไม่อ่านไปสอบเลยค่ะกินซีไปจุก ๆ 5555555555555 ตอนนี้ก็แบบ เออ เราไม่ต้องใช้ของแท้ไปซะทุกอย่างก็ได้อะค่ะ 55555555555
ลบโหห พึ่งรู้ว่าภาษานักรบที่เจอในปัจจุบันไม่ใช่ของแท้ แต่ถ้าเอามาแบบโบราณแท้จริง ๆ ก็ตาแตกจ้า ได้ความรู้ใหม่ ๆ น่าสนใจมากเลยจ้า
ตอบลบอันนี้สุดปังมากเรยค่ะ คือเราก็เล่นเกมสไตล์นี้เหมือนกัน พอไปสังเกตจริงๆก็แบบ เออจิงจ้า เหมือนเขาจะใช้ภาษาโบราณแค่บางจุดให้พอมีกลิ่นๆ แต่ไม่ได้ใช้ทั้งหมดเนอะไม่งั้นคงอ่านไม่เข้าใจ สิ่งนี้นี่เอง น่าสนใจมากTT
ตอบลบทับใจมาก ตอนดูเมะก็เคยคิดว่ามันไม่น่าเก่าทุกคำ เหมือนนิยายแปลจีนจำพวกเซียน ภาษาไทยที่ใช้ก็ดูเก่าเป็นบางคำพอให้ได้บรรยากาศ ถ้าเก่าหมดคงอ่านไม่รู้เรื่องกันจริง ๆ นั่นแหละ
ตอบลบ