Job Name Analysis เพราะชื่อนั้นสำคัญไฉน

สวัสดีค่ะ
หลังจากผ่านสัปดาห์การสอบกลางภาคมาอย่างโชกโชนและได้นอนชาร์จแบตจำศีลมาสักพัก
เรามาเขียนบล็อคที่เรารักกันต่อดีกว่าค่ะ

วันนี้จะขอวนกลับมาเรื่องเกมค่ะ

ครั้งที่แล้วนี่แค่พอหอมปากหอมคอ แนะนำภาพรวมไปใช่มั้ยคะ

เพราะงั้นสิ่งที่จะนำเสนอในวันนี้จะลงลึกเข้าไปในโลกของเกม RPG อีกสักหน่อยค่ะ

สิ่งที่ว่านั่นก็คือ "อาชีพ" ค่ะ

คือต้องขออธิบายก่อนว่าไม่ใช่ทุกเกมจะมีระบบอาชีพนะคะ บางเกมอาจจะเน้นแบ่งธาตุให้ตัวละคร แล้วแบ่งว่าธาตุไหนชนะธาตุไหน อะไรทำนองนี้ค่ะ

แต่แน่นอนว่าในโลกแฟนตาซีเนี่ย คงไม่ใช่อาชีพแบบ ครู พยาบาล พนักงานออฟฟิสหรืออะไรแบบนั้นนะคะ มันจะมีความพิเศษใส่ไข่ icing on top กันบ้างให้สมความเป็นแฟนตาซี

อาชีพที่ว่าเนี่ย เอาจริง ๆ ก็มีตั้งแต่อะไรที่ดูเป็นไปได้อย่าง นักร้องหรือไอดอล(ใช่ค่ะ มีอาชีพแบบนี้ในเกมด้วย!) ไปจนถึง อัศวินแห่งความมืด (草) อะไรเถือกนี้ค่ะ

เนื่องจากแค่เอาอาชีพในเกมมาแนะนำมันก็จะจืดชืดเกินไป(ไม่)หน่อย

เพราะงั้นเลยทำตารางเปรียบเทียบชื่ออาชีพในเวอร์ชั่นภาษาญีุ่่นกับเวอร์ชั่นอังกฤษมาช่วยให้ทุกคนยังไม่กดปิดโพสต์นี้ทิ้งไปนะคะ....

(อาชีพที่จะนำเสนอมาจากแค่เกม Bravely Second เพียงเกมเดียวนะคะ)

โดยอันที่เลือกมาจะเป็นชื่อที่ไม่ได้ใช้ตรงกันเป๊ะค่ะ

เพื่อค้นหาผู้ชนะในการเลือกใช้คำให้สื่อความหมายได้ดีที่สุด(กลายเป็นการแข่งขันไปตั้งแต่เมื่อไหร่ก่อน)

อะแฮ่ม สรุปแล้วก็คือวันนี้เราจะมาพิจารณาการเลือกใช้คำของทั้งสองเวอร์ชั่นกันค่ะ!




เอาล่ะค่ะ
เรามาเริ่มกันที่อันแรกเลยดีกว่า

1. すっぴん แปลว่า ไร้การเสริมแต่ง เหมือนเราไปมหาลัยแล้วไปทั้งหน้าสด ก็คือไปแบบ すっぴん ค่ะ
     Freelancer ก็คือฟรีแลนซ์อย่างที่เราเรียกกันในไทย อาชีพของเราในอนาคตค่ะ  
อาชีพนี้เป็นอาชีพเริ่มต้นของตัวละครในเกมค่ะ stats ต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นค่าพลังโจมตีหรือค่าพลังเวทย์จะอยู่ในระดับเดียวกันหมด ไม่มีอะไรเด่นเป็นพิเศษ 

ถึงตอนแรกจะแอบคิดว่าการใช้ すっぴん ออกจะตลกไปสักหน่อยสำหรับชื่ออาชีพ แต่การใช้ชื่ออาชีพว่า すっぴん เนี่ยตรงกับอาชีพนี้มากกว่า Freelancer อีกนะคะเนี่ย เพราะถ้าลองมองจากโลกความเป็นจริงแล้วการฟรีแลนซ์ก็อาจจะต้องมีความชำนาญในด้านใดด้านหนึ่งด้วย แต่อย่างที่ได้บอกไปว่าอาชีพนี้ไม่มีจุดเด่น ไม่ใช่สายใช้เวทย์หรือโจมตีแรง เพราะงั้นคำว่า すっぴん หรือการไร้การเติมแต่งจึงน่าจะสื่อความหมายได้ดีกว่า Freelancer 

รอบที่หนึ่ง ญี่ปุ่น 1 อังกฤษ 0


2. 聖騎士 หรือ อัศวินศักดิ์สิทธิ์ เกร็ดเล็กเกร็ดน้อยค่ะ คำว่า 聖 นี่แปลได้ทั้งว่าศักดิ์ศิทธิ์ สูงส่ง บริสุทธิ์ก็ยังอาจจะพอเข้าข่ายอยู่ ที่เห็นบ่อย ๆ คงมาจาก 聖なる日 ซึ่งก็คือวันคริสต์มาสนั่นเองค่ะ 
อันนี้จะเริ่มยากขึ้นมาหน่อยค่ะเพราะคำว่า Templar เนี่ย เป็นชื่อที่ใช้เรียกกองทัพอัศวินศาสนาคริสต์นิกายแคทอลิกที่ถูกจัดตั้งขึ้นในยุคสงครามครูเซด(....) 

เอาเป็นว่าตัวอาชีพเนี่ย เป็นอัศวินที่เน้นการตั้งรับค่ะ stats พลังป้องกันจะสูง หรือพูดภาษาเกมเมอร์ก็คือแท็งค์ค่ะ
ตอนนี้เกิดความงงค่ะ
ว่าทำไมอังกฤษถึงเลือกใช้คำว่า templar....ถ้าเราเป็นคนตะวันตก มันอาจจะ make sense กว่านี้ก็เป็นได้

แต่เนื่องด้วยคำนี้ทำให้รู้สึกถูก Alienate โดยความเป็นตะวันตกจนไม่สามารถเข้าใจเซ้นส์ของสิ่งที่มันพยายามจะสื่อได้จึงคิดว่า 聖騎士 เป็นชื่อที่เหมาะสมกว่ามากเลยค่ะ

(Alienate = การทำให้คน ๆ นึงรู้สึกโดดเดี่ยวหรือแปลกแยก) 

ก็นั่นล่ะค่ะ ญี่ปุ่น 2 อังกฤษ 0

3. 導師 อันนี้เริ่มเครียดแล้วค่ะ ไม่รู้จะแปลไงดี คือคำว่า 導 แปลว่า การชี้นำทาง มารวมกับ 師 ที่แปลว่าผู้สอน ครู ทำไมเหมือนเป็นคำซ้อนเพื่อความหมายไปซะอย่างงั้นนะ.... แต่ความจริงแล้วคำนี้มีการใช้ในชีวิตจริงด้วยค่ะ เป็นคำที่ใช้เรียกคนที่สอนพวกพระสูตรของศาสนาพุทธค่ะ(....)

ทำไมต้องเกี่ยวกับศาสนาอีกแล้ว ร้อน ๆ หนาว ๆ ไปหมดเลยค่ะพิตา

ส่วน Spirit Master ก็คือผู้ควบคุมวิญญาณ จ้าวแห่งวิญญาณ
แต่ในส่วนของอาชีพนั้น เป็นอาชีพที่ไม่มีท่าโจมตี เป็นสายซัพพอร์ตเพื่อน ๆ ในทีม ไม่ว่าจะสร้างเกราะ ทำให้การโจมตีของทั้งฝ่ายเราและฝ่ายตรงข้ามไม่มีผล ควบคุมแทบทุกอย่างได้ตามใจนึก

เพราะงั้นครั้งนี้ต้องให้ฝ่ายอังกฤษเค้าแล้วล่ะค่ะ Master มาขนาดนี้แล้ว

กลายเป็น ญี่ปุ่น 2 อังกฤษ 1 

4. คำที่ใกล้เคียงกับ 魔人 ที่สุดในภาษาไทยคงหนีไม่พ้นอสูรหรือมาร 
    ส่วน Arcanist มาจากคำว่า Arcane ที่แปลว่าเรื่องที่ถูกเก็บไว้เป็นความลับ ลี้ลับ ยากจะเข้าใจ Arcanist จึงแปลว่าผู้ที่มีความรู้ในการทำบางสื่งบางอย่างที่เป็นความลับ
อาชีพนี้เป็นอาชีพที่เน้นโจมตีอีกฝ่ายที่กำลังอ่อนแอจากการติดสถานะโดยใช้พลังเวทย์ (อย่างเช่น ติดพิษ) พูดง่าย ๆ คือเป็นคนผลักเค้าล้มไม่พอยังเป็นคนเหยียบซ้ำด้วยซะเองค่ะ เอาจริง ๆ ไม่ค่อยเล่นอาชีพนี้เลยค่ะเพราะชอบโจมตีแบบซึ่ง ๆ หน้ามากกว่า ศัตรูมีไว้พุ่งชนค่ะ

อันนี้มองว่าไอ่วิชาที่ใช้โจมตีอีกฝ่ายตอนติดพิษแล้วพลังการโจมตีจะแรงเป็นพิเศษเนี่ย คงเป็นวิชาลี้ลับไม่ค่อยมีใครรู้ ซึ่งก็ตรงกับความหมายของ Arcanist มากเลยทีเดียว ส่วน 魔人 ยังสื่อแก่นของอาชีพนี้ออกมาได้ไม่ดีเท่าไหร่ ประมาณว่า อสูร อสูรแล้วยังไงต่อล่ะ? อีกอย่างคือภาพในหัวของคำว่าอสูรน่าจะเป็นความป่าเถื่อน ซึ่งก็ตรงอยู่นะคะ เหมือนการทำลายล้างแบบก็อตซิลล่าบุกมากกว่าแบบคนล้มแล้วจับเค้ามาฟาดต่อค่ะ

ด้วยเหตุนี้ ญี่ปุ่น กับ อังกฤษ จึงได้ไป 2 เท่ากัน โดยปริยาย

เอาล่ะค่ะ เรามาดูอาชีพสุดท้ายกันเลยดีกว่าค่ะ

5. トマホーク(Tomahawk) เนี่ย เป็นชื่อขวานของชนพื้นเมืองในทวีปอเมริกาค่ะ เป็นขวานไม่ใหญ่มากสามารถจับได้ด้วยมือเดียว
ในขณะที่ Hawkeye นั้นอาจติดภาพจำจากฮอว์กอายในหนังซูเปอร์ฮีโร่ที่เป็นนักธนูว่าเป็นคำที่ใช้เรียกคนที่มีสายตาดีราวกับเหยี่ยว แต่ความจริงแล้ว Hawkeye นั้นเป็นคำที่ใช้เรียกคนที่เกิดที่รัฐไอโอวาของอเมริกาค่ะ
ในขณะที่ในเกมนั้น อาชีพนี้ให้พูดง่าย ๆ เลยคือเป็นนักแม่นปืนค่ะ ใช้หน้าไม้เป็นอาวุธโจมตีระยะไกล

ตรงนี้มีประเด็นเล็กน้อยค่ะ

จริง ๆ แล้วการใช้คำว่าโทมาฮอว์กนั้นได้รับกระแสลบจากชาวตะวันตกเนื่องจากชุดของตัวละครที่เล่นอาชีพนี้ไปคล้ายคลึงกับ stereotype ชนพื้นเมืองอเมริกันค่ะ โดยการมีขีดสีขาวตามตัวและใบหน้า และเครื่องประดับขนนกที่หัว แต่ทว่าพอเกมถูกปล่อยในตะวันตกแล้วความคล้ายคลึงกับชนชาวพื้นเมืองอเมริกันนี้กลับกลายเป็นความคล้ายคลึงกับคาวบอยแทนค่ะ

การเปลี่ยนแปลงจุดนี้เป็นที่ถกเถียงกันว่าสมควรแล้วหรือไม่

เพราะในแง่หนึ่งมันเป็นการ represent ชนกลุ่มน้อยอย่างชาวอินเดียนแดง
แต่ในอีกมุมหนึ่งคือหากมันเป็นการ represent ที่ไม่ถูกต้องเพราะใส่ภาพจำของคนนอกมากเกินไปอาจทำให้เกิดความไม่พอใจได้

แต่ถ้ามองในแง่มุมของคำที่สื่อความเป็นอาชีพนี้ได้ดีกว่าก็คงต้องเป็น Hawkeye อย่างไม่ต้องสงสัยค่ะ

นอกจากจะได้ภาพจำของซูเปอร์ฮีโร่เข้ามาช่วยแล้วคำแปลตรงตัวอย่าง ตาเหยี่ยว ก็เหมาะสมกับนักแม่นปืนอย่างอาชีพนี้โดยไม่ต้องสงสัย

วันนี้เราก็ได้ข้อสรุปกันไปแล้วค่ะว่าระหว่างชื่ออาชีพในต้นฉบับกับที่ถูกแปลเป็นอังกฤษนั้น เวอร์ชั่นแปลชนะไปอย่างฉิวเฉียดด้วยคะแนน 3 ต่อ 2

สรุปกันสักเล็กน้อย

กลับกลายเป็นว่าญี่ปุ่นที่เราน่าจะมีความคุ้นชินหรือเข้าถึงได้ง่ายกว่าความเป็นตะวันตกกลับ alienate เรามากกว่าซะอีกค่ะ อาจด้วยความที่ญี่ปุ่นมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวที่คนนอกเข้าใจได้ยาก อย่างการเลือกใช้ชื่ออาชีพว่า 魔人 เนี่ย จนถึงตอนนี้เราก็ยังไม่ค่อยเก็ตเท่าไหร่นัก

หรืออาจเป็นเพราะความเป็นตะวันตกมัน mainstream กว่าเนื่องจากเวอร์ชั่นภาษาอังกฤษไม่ได้ผลิตออกมาเพื่อเล่นอยู่แค่ในประเทศเดียวเท่านั้น (ไม่ได้จำกัดอยู่ในอเมริกาอย่างเดียว) จึงเลือกใช้คำที่แม้แต่คนประเทศอื่น ๆ ก็เข้าถึงเซ้นส์ของมันได้ไม่ยาก


สิ่งที่เกิดขึ้นนี้คือ Language Localization ค่ะ

Localization ไม่เหมือนกับการแปลอย่าง Translation ตรงที่มันมีความพยายามที่จะทำให้เนื้อหาที่ออกมาเนี่ยเข้าใจได้ง่ายสำหรับคนกลุ่มหนึ่ง เป้าหมายไม่ใช่การแปลตรงตัว แต่เป็นการแปลให้เข้ากับบริบทสังคมและความคุ้นชินของคนกลุ่มนั้น ๆ 


อย่างถ้าใครท่องอินเตอร์เน็ตบ่อย ๆ อาจจะเคยเจอมีมนี้ค่ะ


Image result for pokemon jelly donuts meme


อันนี้เป็นตัวอย่างของการ localization ที่ชัดเจนเลยทีเดียวค่ะ

โอนิกิริในอนิเมโปเกม่อนถูกเรียกว่าโดนัทไส้เจลลี่แทน เพราะถ้าเรียกว่าโอนิกิริคนตะวันตกก็จะไม่เข้าใจ จะเรียกว่า rice ball เด็ก ๆ ก็อาจจะไม่เก็ตว่ามันคืออะไร เพราะชาวตะวันตกไม่นิยมรับประทานข้าวเป็นอาหารหลักอย่างคนเอเชีย สุดท้ายข้าวปั่นเลยกลายเป็นโดนัทแทนไปโดยปริยายค่ะ(...)

เราคิดว่ามันก็เหมือนกับการเลือกใช้คำว่า Arcanist แทน Demon หรือ Devil ที่แปลตรงตัวมาจาก 魔人 ค่ะ

เพื่อให้คนที่เล่นไม่รู้สึกว่าตนกำลังถูก alienate การแปลเพื่อ Localize จึงสำคัญมากค่ะ
เราว่ามันเป็นเรื่องที่ท้าทายกว่า Translation มากเลยค่ะ อยากมีโอกาสได้ลองทำอะไรแบบนี้บ้าง แต่ในประเทศไทยที่วงการเกมไม่ได้กว้างอย่างใครเขาเราก็เล่นภาคภาษาอังกฤษวนไปค่ะ....

ฉันมีความฝัน ที่แม่เคยฝัน ที่ไม่กล้าฝัน ที่คนธรรมดาคนนึงไม่กล้าฝัน อยากเห็นเกมที่เล่นถูก Localize เป็นไทยบ้างจังค่ะ  

วันนี้ขอลาไปก่อน
ทุกคนมีความคิดอย่างไรมาแชร์กันได้นะคะ เหงาค่ะ

ราตรีสวัสดิ์ค่ะ (หรือควรเป็นอรุณสวัสดิ์นะ?)


ความคิดเห็น

  1. เหหห ไม่เคยคิดว่าภาษาในเกมจะมีนัยยะอะไรอยู่เยอะแยะอย่างนี้เลยค่ะ อุตสหกรรมเกมนี้ยิ่งใหญ่และมีอะไรให้ค้นหามากจริงๆ เมื่อก่อนตอนเด็กๆเล่นเกมเจออาชีพ Templar ก็ไม่เคยเข้าใจว่าเขาเป็นอะไรเลยค่ะ รู้แค่ว่าตัวใหญ่ๆใส่ของหนักๆเน้นทึกๆ ที่แท้เค้ามีอิมเมจอย่างนี้นี่เอง

    ตอบลบ
  2. เปิดโลกมากเลยค่ะ ไม่รู้มาก่อนเลยว่าในเกมมีนัยยะอะไรแบบนี้ด้วย ชอบที่วิเคราะห์ลักษณะตัวละครผ่านชื่อ5555 language localization นี่น่าสนใจมากๆ แสดงถึงวัฒนธรรมผ่านภาษาได้ด้วย

    ตอบลบ
  3. สนุกจัง ไม่รู้จักอาชีพในเกมเลย へえ度 สูงมาก การแปลแบบ localization ก็น่าสนใจค่ะ

    ตอบลบ
  4. น่าสนใจมากค่ะ ถ้าอย่างพวกส้มตำที่บางทีเขาเรียกว่า papaya salad ก็น่าจะเกี่ยวด้วยใช่ไหมคะ

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. คิดว่าน่าจะคล้าย ๆ กันค่ะ เพราะไปส้มตำ ๆ ใส่เค้าอาจจะงง มันคืออิหยังหนิ ก็เลยโยนให้เป็นสลัดมะละกอซะเลยตรงตามตัวมันเองด้วย

      ลบ
  5. ไม่รู้เลยว่าในเกมใช้คำว่า すっぴん ในความหมายแบบ フリーター ได้ ไม่ค่อยได้อยู่ในวงการเกมเท่าไหร่ พอจขบ.มาเทียบให้เห็นภาพเลยรู้สึกว้าวมาก language localization เป็นเรื่องที่น่าสนใจมากเลย มันดูเป็นความปรับตัวของคนใช้ภาษาเพื่อความสะดวก เปิดโลกดีเลยล่ะ

    ตอบลบ
  6. คุณพี่คือเริสมากกกกกกกกกกกกก สามารถวิเคราะ์การแปลได้แบบสุดปังโดยผสานบริบททางสังคม วัฒนธรรม และประวัติศาสตร์เข้ามาเกี่ยว ขนลุกแล้วว

    ตอบลบ

แสดงความคิดเห็น