WEEK 2  餡子はどこ?

หลังจากหมดวันหยุดกีฬามหาลัย ในที่สุดการเรียนที่แท้จริงก็ได้เริ่มต้นขึ้นจนได้....

Week 2


 マンマ おっぱい いないいない ばあ!

-ความตื่นเต้นและความสิ้นหวังจากระดับสติปัญญาของตัวเอง-


สรุปเนื้อหา Week2 และเกร็ดเล็กเกร็ดน้อย


 FLA (First Language Acquisition) หรือ 第一言語習得 ในที่นี้จะขอแปลเป็นไทยว่า ‘การรับมาซึ่งภาษาแม่’ ภาษาที่ถูกใช้ในสังคมที่คน ๆ นั้นเกิดมา เริ่มเรียนรู้ได้ตั้งแต่ช่วงแรกเกิด และพัฒนาต่อมาเรื่อย ๆ จนสามารถพูดตามคนรอบข้างได้ หลังจากที่สามารถเปล่งเสียงเป็นคำได้ เด็กสามารถนำคำเหล่านี้มาสร้างประโยคที่ถึงแม้จะไม่ถูกหลักไวยากรณ์แต่คนฟังสามารถทำความเข้าใจได้

 ขอยกตัวอย่างปรากฏการณ์นี้ในภาษาอังกฤษเพื่อให้เห็นภาพชัดเจนยิ่งขึ้น
  : Mom teached me to read.
 แต่ past tense ของ teach คือ taught 

 ประเภทของการผันกริยาในภาษาอังกฤษแบ่งออกเป็นสองอย่างคือ regular และ irregular verb
Regular Verb ผันโดยการเติม ed ต่อท้าย
Irregular Verb ไม่มีรูปแบบการผันตายตัว จำเป็นต้องท่องจำ

 เนื่องจาก regular verb เป็นกริยาที่พบได้บ่อยกว่าตามชื่อของมัน (regular = ปกติ, ทั่วไป) และมีรูปแบบการผันที่ชัดเจนกว่า จึงส่งผลให้เกิดปรากฏการณ์ overregulization หรือก็คือการยึดนำรูปแบบไวยากรณ์ที่ปรากฏขึ้นบ่อยมาใช้ซ้ำแม้มันจะผิดก็ตาม

 จากตัวอย่างข้างต้นก็คือการยึดเอารูปแบบการผัน regular verb มาใช้กับ irregular verb ด้วย (แทนที่เด็กจะใช้ taught กลับเติม ed ท้ายกริยาตั้งต้นแทน) ทั้งนี้ ผู้ใหญ่สามารถเข้าใจสิ่งที่เด็กพยายามจะสื่อสารได้แม้ว่าสิ่งที่เด็กพูดออกมาจะไม่ถูกหลักไวยากรณ์ก็ตาม

 อาจกล่าวได้ว่าความสามารถในการรับเอามาซึ่งภาษาของมนุษย์นั้นจะลดลงไปตามอายุที่มากขึ้น
น่าประหลาดใจที่ First Word ของเด็กไม่ใช่ まま หรือ パパ อย่างที่คิดไว้ แต่กลับเป็นสามคำนี้ :マンマ おっぱい いないいない ばあ

 ตัว マンマ คล้ายกันกับ ママ จนอาจตีความได้ว่าเด็กอาจจะกำลังร้องหาแม่ และได้รับคำนี้มาเวลาแม่พูดคุยพร้อมแทนตัวเองว่า ママ
แต่อีกสองคำที่เหลือยังคงเป็นปริศนาต่อไป

 SLA (Second Language Acquisition) หรือ 第二言語習得 ในที่นี้จะขอแปลเป็นไทยว่า ‘การรับมาซึ่งภาษาที่สอง’
第~言語 : ภาษาที่ไม่ได้ใช้เป็นหลักในการสื่อสารทั่วไปในชีวิตประจำวัน ภาษาที่เรียนรู้หลังจากภาษาแม่ มักมีเป้าหมายหรือเหตุจูงใจบางอย่างในการเรียนรู้และศึกษา ไม่ว่าจะเพื่อหน้าที่การงานหรือความชอบส่วนตัว


Task 魅力的な自己紹介(Feedback)


สารภาพตามตรงว่ารู้ตัวอีกทีก็เลยเวลาส่งไปแล้ว...ครั้งนี้จึงได้แต่ดู feedback และงานของเพื่อนที่ส่งไป เนื่องจากได้รับงานของเพื่อนสองคนที่คนแรกเขียนได้ไร้ที่ติ(มีจุดผิดแค่สองจุด) ส่วนอีกคนไม่มีอะไรให้แก้ได้เลย จึงได้แต่นั่งอึ้งในความสามารถและความจริงจังของงานของเพื่อนทั้งสอง เนื่องด้วยเหตุผลหลายประการ จึงจะขอไม่เปิดเผยชื่อเจ้าของงานทั้งสองค่ะ
ทั้งสองคนมีวิธีการให้คนจำชื่อของตนได้ที่แตกต่างกันออกไป ในขณะที่ A เล่าที่มาของชื่อ B ก็บอกความหมายและวิธีการออกเสียงชื่อเล่นของตนให้ง่ายขึ้น
หากจะนำตรงนี้มาใช้เขียนแนะนำตัวของตัวเองคงจะได้เป็น

「ニックネームはアンです。餡子のアンです。」

(แต่คนญี่ปุ่นก็ออกเสียงคำว่า アン ได้อยู่แล้ว ถ้าพูดออกไปแบบนี้อาจจะฟังแล้วประหลาดไปสักหน่อย.....) และ自己紹介ของเพื่อนที่รู้สึกประทับใจที่สุดก็คงจะเป็นคนที่โยงชื่อตัวเองกับโฮโตเกะซะมะ
ถ้าแนะนำตัวไปแบบนั้นทุกคนจะต้องจำได้แน่นอน!

สรุป feedback ที่คิดว่าน่าสนใจ

指示詞 การใช้ あの、その

 จำมาตลอดว่า あの จะใช้กับการกล่าวถึงอะไรบางอย่างที่คู่สนทนามีการรับรู้ร่วมกัน แต่เวลาอ่านพวก fanfiction ใน pixiv มักพบการใช้ あの มากกว่า その ในบางครั้งตัวละครกำลังพูดคนเดียวหรือรำพึงรำพันอะไรบางอย่าง แต่เราก็ทึกทักไปเองว่า อ๋อ คนเขียนคงทำเป็นเหมือนกับว่าตัวละครกำลังคุยกับคนอ่านอยู่แหละ และแน่นอนว่าคนอ่านก็ต้องมีความรับรู้ถึงอีกตัวละครที่กล่าวถึงอยู่แล้วจึงใช้ あの
ในที่สุดก็ได้รู้ความจริงว่าก็แค่ตัวละครกำลังรำพึงรำพันแค่นั้นเลย.....


มาถึงช่วงสุดท้ายที่ทุกคนรอคอย

 知的に言うコツ 


ขออนุญาตแปลว่า ‘เคล็ดลับการพูดอย่างไรให้ดูฉลาด’ 
เริ่มแรกเลยคือการเลือกใช้คำที่เป็น 漢語 แทนที่จะใช้คำที่มีฮิระงะนะผสม

1. きまり-->規則
2. 重さ-->重量
3. 繰り返し-->反復

ช่วงขำขันประจำคาบ
เรียงลำดับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในห้องเรียนวันนั้นหลังจากเห็นคำว่า きまり


คิดอย่างจริงจัง
.
.
.
ปิ๊ง!!!

.
.
.
เค้าเอา 漢語 ค่ะเธอ......
(รู้นะว่าหลายคนก็คิดแบบนี้!!!)


 แต่พออย่างนั้นก็เกิดความสงสัยขึ้น

 規則 กับ ルール ต่างกันยังไง ? หลังจากการค้นคว้าอยู่อย่างงง ๆ พักหนึ่งได้สรุปออกมาดังนี้ 

 ルール หรือ rule หากยึดตามความหมายของคำว่า rule แล้วจะหมายถึงกฎทั่วไป ไม่จำเป็นต้องเป็นกฎที่รัฐตั้งขึ้นมา ปรับเปลี่ยนได้ตามความเหมาะสม ได้ยินบ่อยในอนิเมะกีฬาเวลาอธิบายกฎของเกม และทั้ง ルール กับ 規則 แทบจะสามารถใช้แทนกันได้ เนื่องจาก ルール มักถูกให้ความหมายไว้ว่า 規則 ในเว็บดิคชันนารี่ของญี่ปุ่น ทั้งนี้ หากคำนึงถึงหัวข้ออย่าง 知的に言うコツ แล้ว แน่นอนว่าเราควรเลือกใช้ 規則 มากกว่าเพื่อให้ตัวเองดูมีภูมิ

 ในสามชั่วโมงนี้ได้อะไรใหม่ ๆ กว่าที่คิดเยอะมาก บรรยากาศในห้องเรียนเองก็ช่วยให้มีส่วนร่วมกับเพื่อน ๆ แต่เรื่องน่าเศร้าคือเรียนเสร็จแล้วเหมือนเนื้อหาจะปลิวออกไปจากเซลล์สมองเรียบร้อย....

 เรื่องน่ายินดีคือได้เกมที่จะพยายามเอามาหาความรู้เพิ่มเติมเรียบร้อย

นั่นก็คือ...
.
.
.

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ bravely second

Bravely Second : End layer (2016)
.
.
.

 เกม RPG (Role-playing game) ที่ออกมาเมื่อปี 2016 สำหรับเครื่อง 3ds หรือ 2ds ของ Nintendo เราสวมบทบาทเป็นฮีโร่แห่งแสงทั้งสี่ที่ออกเดินทางเพื่อช่วยเพื่อนและโลกในเวลาเดียวกัน แต่ทุกอย่างอาจจะไม่เป็นไปอย่างที่ฮีโร่ของเราคิดก็เป็นได้.....
 เป็นเกมแฟนตาซีทั่วไปที่มีความพิเศษซุกซ่อนอยู่มากมาย อย่างแรกเลยคือแม้ตัวแผ่นเกมจะเป็นของโซน USA แต่เกมนี้มีเสียงภาษาญี่ปุ่นให้เลือกเปลี่ยนได้ ส่วนตัว text ในเกมเองก็มีให้เลือกถึงหกภาษาด้วยกัน ด้วยเหตุนี้เกมนี้จึงถูกเลือกเป็นแหล่งหาความรู้ภาษาญี่ปุ่นเพิ่มเติมไปโดยปริยาย 


ตั้งเป้าหมายคร่าว ๆ ไว้ว่าจะต้องเพิ่มคลังศัพท์ของตัวเองให้ได้อย่างน้อย 50 คำ
รวมถึงวิเคราะห์ความต่างระหว่างตัวเกมภาษาญี่ปุ่นและภาษาอังกฤษไปด้วยค่ะ

แล้วเราจะเป็น あんパン ที่มี 餡子 ให้ได้ภายในเทอมนี้




ความคิดเห็น

  1. จริงๆ ผมก็ไม่สามารถตอบได้ว่า 規則 กับ ルール ต่างกันอย่างไร 555 โดนส่านใหญ่มันสลับกันได้ แต่ ルール มันความหมายกว้างกว่า เช่น サッカーのルール、将棋のルール ซึ่งน่าจะใกล้กับ "กติกา" มากกว่า "กฎ"
    เรื่องปรากฏการณ์ overregulization ค้นหาเองหรือครับ สุดยอดเลย มันเป็น concept สำคัญใน SLA พรุ่งนี้อาจจะพูดถึงเรื่องนี้ด้วยครับ

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. พอเห็นคำว่ากติกาถึงเพิ่งนึกขึ้นได้ค่ะว่าควรใช้คำนี้มาอธิบายตั้งแต่แรก ฮือ ขอบคุณมากนะคะ

      ลบ
  2. วาดรูปเองใช่ไหมคะ สวยมากเลย วันนี้เราเรียนสิ่งที่คล้ายกับ overregulization ด้วยคือ overgeneralization นะคะ

    ตอบลบ

แสดงความคิดเห็น