สวัสดีพ่อแม่พี่น้องและท่านผู้ชมทางบ้าน
ยินดีต้อนรับเข้าสู่ เรื่องจริงผ่านจอ
กับการปั่นบล็อกชดใช้กรรม
วันนี้จะมาพูดถึงเรื่อง Pivot Language ค่ะ
พร้อมแล้ว Let's go!!!
อ๊ะ
แต่ก่อนจะพูดถึง Pivot Language ได้ขอปูเข้าเรื่องสักเล็กน้อย
เรื่องมันเริ่มจาก 中間言語 ที่เรียนไปในสัปดาห์ที่ผ่านมาค่ะ
中間言語 หรือที่เรียกกันในภาษาอังกฤษว่า Interlanguage
中間言語 คือภาษาที่เกิดขึ้นระหว่างกระบวนการการเรียนรู้ภาษาเป้าหมาย (目標言語)
เช่นว่าเรากำลังเรียนภาษาญี่ปุ่น ระหว่างที่เรายังไปไม่ถึงจุดที่สามารถใช้ภาษาเป้าหมายได้อย่างสมบูรณ์แบบ แปลว่าภาษาญี่ปุ่นที่เรา(พยายาม)ใช้อยู่ตอนนี้นั้นถือว่าเป็น 中間言語 นั่นเอง
หมายความว่าหากเราใช้ภาษาเป้าหมายผิดอยู่บ่อยครั้ง ผิดซ้ำผิดซ้อน ผิดแล้วไม่รู้จักจำ แปลว่าเรากำลังพบกับสื่งที่เรียกว่า Fossilization
สิ่งที่ได้มาคือภาษาที่ผิดแผกไปจากทั้งภาษาเป้าหมายและภาษาแม่ของเรา
มาถึงตรงนี้คงเป็นเรื่องที่ทุกคนในคลาสทราบกันดีอยู่แล้ว
แต่เนื่องจากตอนรีเสิร์ชเกี่ยวกับ 中間言語 พบอะไรน่าสนใจขึ้นมา(ไม่ใช่อะไรหรอก เสิร์ช 中間言語 แล้วมันดันขึ้นอันนี้มาให้จนเกือบคิดว่า Pivot Language คือ Interlanguage..... ) จึงเกิดบล็อคสายฟ้าแลบนี้ขึ้นมาค่ะ...
ภาษานี้คือภาษาที่ถูกใช้เพื่อเติมเต็มช่องว่างระหว่างสองภาษาเข้าด้วยกัน
อย่างเช่น อยากจะแปลเพลงญี่ปุ่นแต่ไม่แม่นคันจิ ขี้เกียจเปิดหาศัพท์ เราก็อาจจะหยิบเอาเนื้อร้องที่ถูกแปลเป็นภาษาอังกฤษมาแปลแทน เป็นต้น
อาจจะดูเป็นเรื่องทั่วไปที่เราจะเช็คหลาย ๆ ภาษาเพราะอยากรู้ว่าสิ่งที่ตนเข้าใจนั้นตรงกันกับในภาษาอื่นมั้ย
แต่ในแวดวงวิชาการแล้ว Pivot Language นั้นสำคัญมากสำหรับภาษาที่ไม่เป็นที่แพร่หลายและมีจำนวนคนพูดน้อยมากจนทำให้การแปลไปสู่ภาษาที่ต้องการนั้นยากจนเกินไป
อย่างในสหภาพยุโรปที่มีภาษาหลากหลาย ในการประชุมบางครั้งจึงจำเป็นต้องแปลภาษานั้น ๆ เป็นภาษาอังกฤษก่อนจึงจะนำไปแยกแปลเป็นภาษาของตนอีกที
ส่วนมากแล้ว Pivot Language นั้นมักเป็นภาษาอังกฤษ เนื่องจากเป็นภาษาที่แพร่หลายที่สุดในโลก(according to Wikipedia)
แต่เพราะการแปลต่อหลายทอดแบบนี้ บางครั้งจึงอาจทำให้เกิดปัญหาได้
เนื่องจากมีการแปลหลายครั้ง จึงอาจทำให้สารที่แท้จริงถูกบิดเบือนไปได้
ยิ่งหาก Pivot Language ที่ว่านั้นเป็นภาษาอังกฤษที่ไม่มีระดับความสุภาพที่ชัดเจนยิ่งทำให้เกิดความคลาดเคลื่อนได้ง่ายนั่นเอง
สมมติว่ามีคนแปลซับซีรี่ยส์เกาหลีเป็นภาษาอังกฤษ
นาย A ชอบเรื่องนี้มากจึงอยากเอามาแปลต่อเป็นภาษาไทย
แต่เขาก็ต้องชะงักเมื่อแปลไปแปลมาเจอบทพูดว่า
นาย A จึงได้แต่ถอนหายใจแล้วไปนอน (อ้าว)
แน่นอนว่าแค่ความสุภาพนั้น ไม่แปลก็อาจจะไม่ใช่ปัญหาใหญ่โตอะไร
แต่บางครั้งมันอาจทำให้เกิดความคลาดเคลื่อนหรือไม่ต่อเนื่องได้อย่างเช่นในกรณีที่กล่าวไป
ด้วยความแตกต่างทั้งด้านตัวภาษาและวัฒนธรรมทำให้บางครั้งภาษาอังกฤษไม่ใช่ Pivot Language ที่ดีที่สุด
เช่น หลังจากการทดสอบแปลคู่ภาษาเอเชียแล้วพบว่าการจะแปลภาษาเอเชียก็ควรเลือก Pivot Language เป็นภาษาที่มีความใกล้เคียงกับภาษานั้น ๆ อย่างภาษาเอเชียด้วยกันเองมากกว่าจะใช้ภาษาอังกฤษที่มีความแตกต่างของภาษาค่อนข้างมาก
ถึง Pivot Language จะมีข้อบกพร่องไปบ้าง แต่เนื่องจากบางครั้งการหาคนที่สามารถใช้ทั้งภาษา A และ B ได้นั้น ยากกว่าการหาคนที่สามารถใช้ภาษา A และ C กับคนที่รู้ภาษา B และ C
การเลือกใช้ภาษา C เป็นตัวกลางในการแปลจึงประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายมากกว่านั่นเอง
โอ๊ะ พระอาทิตย์กำลังจะขึ้นแล้ว.....วันนี้ขอฝากไว้เพียงเท่านี้
แล้วพบกันในบล็อคหน้าค่ะ
เอกสารอ้างอิง
Paul, Michael (2009) On the Importance of Pivot Language Selection for Statistical Machine Translation https://www.aclweb.org/anthology/N09-2056.pdf (2020/2/22 アクセス)
ยินดีต้อนรับเข้าสู่ เรื่องจริงผ่านจอ
กับการปั่นบล็อกชดใช้กรรม
วันนี้จะมาพูดถึงเรื่อง Pivot Language ค่ะ
พร้อมแล้ว Let's go!!!
อ๊ะ
แต่ก่อนจะพูดถึง Pivot Language ได้ขอปูเข้าเรื่องสักเล็กน้อย
เรื่องมันเริ่มจาก 中間言語 ที่เรียนไปในสัปดาห์ที่ผ่านมาค่ะ
中間言語 หรือที่เรียกกันในภาษาอังกฤษว่า Interlanguage
中間言語 คือภาษาที่เกิดขึ้นระหว่างกระบวนการการเรียนรู้ภาษาเป้าหมาย (目標言語)
เช่นว่าเรากำลังเรียนภาษาญี่ปุ่น ระหว่างที่เรายังไปไม่ถึงจุดที่สามารถใช้ภาษาเป้าหมายได้อย่างสมบูรณ์แบบ แปลว่าภาษาญี่ปุ่นที่เรา(พยายาม)ใช้อยู่ตอนนี้นั้นถือว่าเป็น 中間言語 นั่นเอง
หมายความว่าหากเราใช้ภาษาเป้าหมายผิดอยู่บ่อยครั้ง ผิดซ้ำผิดซ้อน ผิดแล้วไม่รู้จักจำ แปลว่าเรากำลังพบกับสื่งที่เรียกว่า Fossilization
สิ่งที่ได้มาคือภาษาที่ผิดแผกไปจากทั้งภาษาเป้าหมายและภาษาแม่ของเรา
มาถึงตรงนี้คงเป็นเรื่องที่ทุกคนในคลาสทราบกันดีอยู่แล้ว
แต่เนื่องจากตอนรีเสิร์ชเกี่ยวกับ 中間言語 พบอะไรน่าสนใจขึ้นมา(ไม่ใช่อะไรหรอก เสิร์ช 中間言語 แล้วมันดันขึ้นอันนี้มาให้จนเกือบคิดว่า Pivot Language คือ Interlanguage..... ) จึงเกิดบล็อคสายฟ้าแลบนี้ขึ้นมาค่ะ...
Pivot Language
(pivot = ข้อต่อ/ส่วนสำคัญ)ภาษานี้คือภาษาที่ถูกใช้เพื่อเติมเต็มช่องว่างระหว่างสองภาษาเข้าด้วยกัน
อย่างเช่น อยากจะแปลเพลงญี่ปุ่นแต่ไม่แม่นคันจิ ขี้เกียจเปิดหาศัพท์ เราก็อาจจะหยิบเอาเนื้อร้องที่ถูกแปลเป็นภาษาอังกฤษมาแปลแทน เป็นต้น
อาจจะดูเป็นเรื่องทั่วไปที่เราจะเช็คหลาย ๆ ภาษาเพราะอยากรู้ว่าสิ่งที่ตนเข้าใจนั้นตรงกันกับในภาษาอื่นมั้ย
แต่ในแวดวงวิชาการแล้ว Pivot Language นั้นสำคัญมากสำหรับภาษาที่ไม่เป็นที่แพร่หลายและมีจำนวนคนพูดน้อยมากจนทำให้การแปลไปสู่ภาษาที่ต้องการนั้นยากจนเกินไป
อย่างในสหภาพยุโรปที่มีภาษาหลากหลาย ในการประชุมบางครั้งจึงจำเป็นต้องแปลภาษานั้น ๆ เป็นภาษาอังกฤษก่อนจึงจะนำไปแยกแปลเป็นภาษาของตนอีกที
ส่วนมากแล้ว Pivot Language นั้นมักเป็นภาษาอังกฤษ เนื่องจากเป็นภาษาที่แพร่หลายที่สุดในโลก
แต่เพราะการแปลต่อหลายทอดแบบนี้ บางครั้งจึงอาจทำให้เกิดปัญหาได้
เนื่องจากมีการแปลหลายครั้ง จึงอาจทำให้สารที่แท้จริงถูกบิดเบือนไปได้
ยิ่งหาก Pivot Language ที่ว่านั้นเป็นภาษาอังกฤษที่ไม่มีระดับความสุภาพที่ชัดเจนยิ่งทำให้เกิดความคลาดเคลื่อนได้ง่ายนั่นเอง
สมมติว่ามีคนแปลซับซีรี่ยส์เกาหลีเป็นภาษาอังกฤษ
นาย A ชอบเรื่องนี้มากจึงอยากเอามาแปลต่อเป็นภาษาไทย
แต่เขาก็ต้องชะงักเมื่อแปลไปแปลมาเจอบทพูดว่า
"เดี๋ยวนี้ชักเอาใหญ่แล้วนะ ไม่พูดสุภาพแล้วรึไง"
(หรืออะไรประมาณนี้)
แล้วเขาก็หน้าซีด
เมื่อซับที่เขาแปลไปแล้วครึ่งตอน
ไม่มีการใช้คะค่ะหรือครับเลย
นาย A จึงได้แต่ถอนหายใจแล้วไปนอน (อ้าว)
แน่นอนว่าแค่ความสุภาพนั้น ไม่แปลก็อาจจะไม่ใช่ปัญหาใหญ่โตอะไร
แต่บางครั้งมันอาจทำให้เกิดความคลาดเคลื่อนหรือไม่ต่อเนื่องได้อย่างเช่นในกรณีที่กล่าวไป
ด้วยความแตกต่างทั้งด้านตัวภาษาและวัฒนธรรมทำให้บางครั้งภาษาอังกฤษไม่ใช่ Pivot Language ที่ดีที่สุด
เช่น หลังจากการทดสอบแปลคู่ภาษาเอเชียแล้วพบว่าการจะแปลภาษาเอเชียก็ควรเลือก Pivot Language เป็นภาษาที่มีความใกล้เคียงกับภาษานั้น ๆ อย่างภาษาเอเชียด้วยกันเองมากกว่าจะใช้ภาษาอังกฤษที่มีความแตกต่างของภาษาค่อนข้างมาก
ถึง Pivot Language จะมีข้อบกพร่องไปบ้าง แต่เนื่องจากบางครั้งการหาคนที่สามารถใช้ทั้งภาษา A และ B ได้นั้น ยากกว่าการหาคนที่สามารถใช้ภาษา A และ C กับคนที่รู้ภาษา B และ C
การเลือกใช้ภาษา C เป็นตัวกลางในการแปลจึงประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายมากกว่านั่นเอง
โอ๊ะ พระอาทิตย์กำลังจะขึ้นแล้ว.....วันนี้ขอฝากไว้เพียงเท่านี้
แล้วพบกันในบล็อคหน้าค่ะ
เอกสารอ้างอิง
Paul, Michael (2009) On the Importance of Pivot Language Selection for Statistical Machine Translation https://www.aclweb.org/anthology/N09-2056.pdf (2020/2/22 アクセス)
เพิ่งรู้ว่าภาษาแบบนี้มีชื่อด้วย น่าสนใจมากๆเลยค่ะ
ตอบลบเคยคิดเหมือนกันค่ะว่าที่หลายๆการถ่ายทอดภาษาใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษากลางน่าจะเก็บความหมายได้ไม่ครบเท่าการใช้ภาษาที่วัฒนธรรมใกล้ๆกัน แต่มันก็สะดวกจริงๆค่ะ (笑)
Pivot Language นี่น่าสนใจนะ แต่ pragmatically นี่น่าเชื่อถือไหมนิ
ตอบลบ