Week 4
กะจะเขียนบล็อกเรื่องเกมตั้งแต่สัปดาห์ที่แล้วแต่ดูเหมือนวิชาไควะไม่เป็นใจ (กรุณาใส่ทำนองเพลงแสงสุดท้ายของบอดี้แสลม)
หลังจากได้ชาร์จแบตจากสัปดาห์ที่หนักหน่วงมาอย่างเต็มอิ่มหนึ่งวันก็ได้เวลากลับมาพบกับโลกความเป็นจริงอีกครั้ง
(แน่นอนว่ายังอยากพักต่อ——แค่ก)
เอาล่ะ เรามาเข้าเรื่องกันดีกว่า......
สรุปเนื้อหาโดยรวม
เพื่อง่ายแก่การเข้าใจจึงจะขอทำสรุปเป็นตารางคร่าว ๆ ตามนี้ค่ะ
หลังจากที่ได้เข้าฟังอาจารย์พิเศษสอนเรื่อง 敬語 ส่วนตัวแล้วคิดว่าเข้าถึงแก่นแท้ของ 敬語 จนได้ค่ะ
ขอยกตัวอย่างเหมือนแบบฝึกหัดที่ได้ทำในห้องไป....
ต่อให้เล่าเรื่องของเราเอง แต่เราได้รับการกระทำจากคนที่มีสถานะสูงกว่าล่ะก็...
เกร็ดเล็กเกร็ดน้อย
ในฐานะที่ตัวเราเองอยู่กับภาษาอังกฤษมาค่อนข้างนาน และชื่นชอบที่จะท่องโลกอินเตอร์เน็ตด้วยภาษาอังกฤษอยู่เป็นประจำ ทำให้เมื่อได้เรียนเรื่องการใช้ภาษาสุภาพอย่างละเอียดมากขึ้นกว่าเดิม จากที่นั่งผันกิริยาไปวัน ๆ และท่องศัพท์ไปอย่างนั้นก็รู้สึกว่าเข้าถึงมันมากขึ้นกว่าที่เคย
ก็มานั่งคิดกับตัวเอง
ว่าดีจังเลยที่ภาษาอังกฤษไม่มีอะไรแบบนี้——
แต่ เดี๋ยวก่อน....
...จะว่าไปภาษาอังกฤษเองก็มีคำสุภาพนี่นา?
อย่างเวลาพนักงานคุยกับลูกค้า
เขาอาจจะพูดว่า Would you like something to drink?
แทนที่จะเป็น Do you want something to drink?
เมื่อนึกได้แบบนั้นจึงเกิดคำถามต่อมา
ที่ใช้คำว่า ‘การใช้ภาษาให้สุภาพ’ เพราะค่อนข้างมั่นใจว่าไม่มี Humble form หรือ Honorific form แบบในภาษาญี่ปุ่นที่มี 謙譲語 กับ 尊敬語 แน่ ๆ ด้วยวัฒนธรรมและค่านิยมที่แตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัด
หากจะให้อธิบายให้เห็นภาพ ขอยกตัวอย่างเรื่องคำเรียกผู้อาวุโสกว่า ภาษาอังกฤษไม่มีแม้แต่คำเรียกคนอายุมากกว่าอย่าง ‘พี่’ หรือ ‘รุ่นพี่’.....และจากประสบการณ์การดูซีรี่ยส์และการ์ตูนตะวันตกหลาย ๆ เรื่อง ตัวละครจะเรียกผู้ที่อาวุโสกว่าด้วยชื่อตัวละครไปเลยหรือก็แค่เรียกแทนง่าย ๆ ด้วยสรรพนามอย่าง you
แต่ดูเหมือนว่าภาษาอังกฤษเองก็มี 'การใช้ภาษาสุภาพ' เช่นกัน
ขออนุญาตยกตัวอย่างมาสามข้อดังนี้
1.การพูดอ้อม (Indirect Speech)
เช่นเดียวกันกับที่ภาษาญี่ปุ่นมักไม่กล่าวสารที่จะสื่อออกมาอย่างตรงไปตรงมา ภาษาอังกฤษเองก็มีวิธีการทำให้สารที่จะสื่อออกมามีเซนส์ของความสุภาพในระดับหนึ่ง
ไม่ว่าจะใช้วิธีการเลือกคำ การเลี่ยงการใช้รูปประโยคคำสั่ง (imperative form) หรือการเชื่อมประโยคกับกริยาอย่าง wonder หรือ think
ขอยกตัวอย่างหนึ่งประโยค
เวลามีคนฟังเพลงเสียงดังลั่นชั้นของหอ คุณอาจจะไปเคาะห้องเค้าแล้วพูดว่า
I was wondering if you could turn down the volume.
แทนที่จะใช้ประโยคคำสั่งอย่าง Turn down the volume.
จากคำสั่งจะกลายเป็นเหมือนว่าเราไปถามเค้าแทนว่าพอจะสามารถลดเสียงลงหน่อยได้มั้ย(ถ้าไม่ได้ก็ไม่เป็นไร)
(แน่นอนว่าในใจเราก็คงคิดว่าไม่ได้จะถามหรอก แค่ไม่อยากมีเรื่องถ้าสั่งเค้าไปแบบนั้น....)
ตรงนี้ไม่สามารถเรียกว่าเป็นลักษณะเฉพาะของภาษาอังกฤษได้ และคงเป็นลักษณะของการแสดงความสุภาพที่ซ้อนทับอยู่กับหลาย ๆ ภาษาบนโลกใบนี้
(แต่แน่นอนว่าเค้าไม่อ้อมเท่าภาษาญี่ปุ่นค่ะ-------แค่ก ๆ )
2.การใช้ modal verb ในรูปอดีต
Modal Verb = can , shall, will, may
การเปลี่ยน modal verb เหล่านี้เป็นรูปอดีตจะทำให้ประโยคนั้นซอฟต์ขึ้น
3.การใช้รูปอดีตแม้ว่าสิ่งนั้นจะยังเป็นจริงอยู่
Her drawing wasn’t good enough to win the first prize.
รูปภาพของเธอไม่ดีพอที่จะคว้ารางวัลชนะเลิศมาได้
(อุ้ย จริง ๆ มันก็ยังแอบแรงอยู่นะ)
แน่นอนว่ารูปภาพของเธอคนนั้นวาดเสร็จไปแล้ว ยังคงอยู่ในสภาพเดิม ไม่ได้เปลี่ยนแปลงไปแต่อย่างใด....แต่การใช้รูปอดีตจะทำให้ประโยคนี้รุนแรงน้อยลง เพราะตอนนี้เธอคนที่ว่านี้อาจจะพัฒนาความสามารถขึ้นมาแล้วก็เป็นได้นั่นเอง ส่วนรูปภาพเองก็อาจจะดีของมันเองอยู่แล้ว แค่ไม่ได้ดีพอ ณ ตอนนั้น(หรือสำหรับการแข่งขันนั้น)
สรุปได้ว่าแม้จะเป็นภาษาที่ไม่มีรูปสุภาพหรือรูปถ่อมตนชัดเจนอย่างภาษาอังกฤษก็ยังมีความสุภาพในแบบของเขาแทรกซึมอยู่ในภาษาเช่นเดียวกัน
อ้างอิงจาก : https://dictionary.cambridge.org/grammar/british-grammar/politeness
เอาล่ะค่ะ ผ่านช่วงวิชาการจ๋ามาแล้ว ต่อไปเรามาเวิ่นเว้อกันดีกว่า
เพลง なごり雪 ที่ใช้เรียนไปหลอนหูเอามาก ๆ
ตกพาสายี่ปุ่นค่ะ
やはり日本語は恐るべしだ
「春が来た」
Ear worm และความสุภาพที่ชวนให้ใช้สมอง(มากเกินไป)
หลังจากได้ชาร์จแบตจากสัปดาห์ที่หนักหน่วงมาอย่างเต็มอิ่มหนึ่งวันก็ได้เวลากลับมาพบกับโลกความเป็นจริงอีกครั้ง
(แน่นอนว่ายังอยากพักต่อ——แค่ก)
เอาล่ะ เรามาเข้าเรื่องกันดีกว่า......
สรุปเนื้อหาโดยรวม
เพื่อง่ายแก่การเข้าใจจึงจะขอทำสรุปเป็นตารางคร่าว ๆ ตามนี้ค่ะ
หลังจากที่ได้เข้าฟังอาจารย์พิเศษสอนเรื่อง 敬語 ส่วนตัวแล้วคิดว่าเข้าถึงแก่นแท้ของ 敬語 จนได้ค่ะ
‘ระลึกเสมอว่ากำลังพูดถึงการกระทำของใครและเล่าให้ใครฟัง’
ขอยกตัวอย่างเหมือนแบบฝึกหัดที่ได้ทำในห้องไป....
คุยกับเพื่อน+กล่าวถึงบุคคลที่มีสถานะสูงกว่า = รูป 尊敬 + รูป 普通
แต่!!!!!
ระวังไว้ให้ดีค่ะทุกคน(เอาจริงคือเตือนตัวเองอยู่.....)ต่อให้เล่าเรื่องของเราเอง แต่เราได้รับการกระทำจากคนที่มีสถานะสูงกว่าล่ะก็...
เราต้องใช้รูปถ่อมตัวด้วย
ถึงแม้คนที่มีสถานะสูงกว่าคนดังกล่าวจะไม่ได้อยู่ ณ ที่แห่งนั้นก็ตามที...
.
.
.
.
.
(จะมีใครเก็ตมีมนี้มั้ยนะ....//เหม่อ)
เกร็ดเล็กเกร็ดน้อย
ในฐานะที่ตัวเราเองอยู่กับภาษาอังกฤษมาค่อนข้างนาน และชื่นชอบที่จะท่องโลกอินเตอร์เน็ตด้วยภาษาอังกฤษอยู่เป็นประจำ ทำให้เมื่อได้เรียนเรื่องการใช้ภาษาสุภาพอย่างละเอียดมากขึ้นกว่าเดิม จากที่นั่งผันกิริยาไปวัน ๆ และท่องศัพท์ไปอย่างนั้นก็รู้สึกว่าเข้าถึงมันมากขึ้นกว่าที่เคย
ก็มานั่งคิดกับตัวเอง
ว่าดีจังเลยที่ภาษาอังกฤษไม่มีอะไรแบบนี้——
แต่ เดี๋ยวก่อน....
...จะว่าไปภาษาอังกฤษเองก็มีคำสุภาพนี่นา?
อย่างเวลาพนักงานคุยกับลูกค้า
เขาอาจจะพูดว่า Would you like something to drink?
แทนที่จะเป็น Do you want something to drink?
เมื่อนึกได้แบบนั้นจึงเกิดคำถามต่อมา
ภาษาอังกฤษมีรูปแบบการใช้ภาษาให้สุภาพ
เป็นจริงเป็นจังเลยรึเปล่านะ?
ที่ใช้คำว่า ‘การใช้ภาษาให้สุภาพ’ เพราะค่อนข้างมั่นใจว่าไม่มี Humble form หรือ Honorific form แบบในภาษาญี่ปุ่นที่มี 謙譲語 กับ 尊敬語 แน่ ๆ ด้วยวัฒนธรรมและค่านิยมที่แตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัด
หากจะให้อธิบายให้เห็นภาพ ขอยกตัวอย่างเรื่องคำเรียกผู้อาวุโสกว่า ภาษาอังกฤษไม่มีแม้แต่คำเรียกคนอายุมากกว่าอย่าง ‘พี่’ หรือ ‘รุ่นพี่’.....และจากประสบการณ์การดูซีรี่ยส์และการ์ตูนตะวันตกหลาย ๆ เรื่อง ตัวละครจะเรียกผู้ที่อาวุโสกว่าด้วยชื่อตัวละครไปเลยหรือก็แค่เรียกแทนง่าย ๆ ด้วยสรรพนามอย่าง you
แต่ดูเหมือนว่าภาษาอังกฤษเองก็มี 'การใช้ภาษาสุภาพ' เช่นกัน
ขออนุญาตยกตัวอย่างมาสามข้อดังนี้
1.การพูดอ้อม (Indirect Speech)
เช่นเดียวกันกับที่ภาษาญี่ปุ่นมักไม่กล่าวสารที่จะสื่อออกมาอย่างตรงไปตรงมา ภาษาอังกฤษเองก็มีวิธีการทำให้สารที่จะสื่อออกมามีเซนส์ของความสุภาพในระดับหนึ่ง
ไม่ว่าจะใช้วิธีการเลือกคำ การเลี่ยงการใช้รูปประโยคคำสั่ง (imperative form) หรือการเชื่อมประโยคกับกริยาอย่าง wonder หรือ think
ขอยกตัวอย่างหนึ่งประโยค
เวลามีคนฟังเพลงเสียงดังลั่นชั้นของหอ คุณอาจจะไปเคาะห้องเค้าแล้วพูดว่า
I was wondering if you could turn down the volume.
แทนที่จะใช้ประโยคคำสั่งอย่าง Turn down the volume.
จากคำสั่งจะกลายเป็นเหมือนว่าเราไปถามเค้าแทนว่าพอจะสามารถลดเสียงลงหน่อยได้มั้ย(ถ้าไม่ได้ก็ไม่เป็นไร)
(แน่นอนว่าในใจเราก็คงคิดว่าไม่ได้จะถามหรอก แค่ไม่อยากมีเรื่องถ้าสั่งเค้าไปแบบนั้น....)
ตรงนี้ไม่สามารถเรียกว่าเป็นลักษณะเฉพาะของภาษาอังกฤษได้ และคงเป็นลักษณะของการแสดงความสุภาพที่ซ้อนทับอยู่กับหลาย ๆ ภาษาบนโลกใบนี้
(แต่แน่นอนว่าเค้าไม่อ้อมเท่าภาษาญี่ปุ่นค่ะ-------แค่ก ๆ )
2.การใช้ modal verb ในรูปอดีต
Modal Verb = can , shall, will, may
การเปลี่ยน modal verb เหล่านี้เป็นรูปอดีตจะทำให้ประโยคนั้นซอฟต์ขึ้น
3.การใช้รูปอดีตแม้ว่าสิ่งนั้นจะยังเป็นจริงอยู่
Her drawing wasn’t good enough to win the first prize.
รูปภาพของเธอไม่ดีพอที่จะคว้ารางวัลชนะเลิศมาได้
(อุ้ย จริง ๆ มันก็ยังแอบแรงอยู่นะ)
แน่นอนว่ารูปภาพของเธอคนนั้นวาดเสร็จไปแล้ว ยังคงอยู่ในสภาพเดิม ไม่ได้เปลี่ยนแปลงไปแต่อย่างใด....แต่การใช้รูปอดีตจะทำให้ประโยคนี้รุนแรงน้อยลง เพราะตอนนี้เธอคนที่ว่านี้อาจจะพัฒนาความสามารถขึ้นมาแล้วก็เป็นได้นั่นเอง ส่วนรูปภาพเองก็อาจจะดีของมันเองอยู่แล้ว แค่ไม่ได้ดีพอ ณ ตอนนั้น(หรือสำหรับการแข่งขันนั้น)
สรุปได้ว่าแม้จะเป็นภาษาที่ไม่มีรูปสุภาพหรือรูปถ่อมตนชัดเจนอย่างภาษาอังกฤษก็ยังมีความสุภาพในแบบของเขาแทรกซึมอยู่ในภาษาเช่นเดียวกัน
อ้างอิงจาก : https://dictionary.cambridge.org/grammar/british-grammar/politeness
(ในความหมายที่ดี)
คาดว่าจะกลายเป็นเพลงประจำเอกไปอีกสักพักใหญ่ ๆ .......
มีอยู่ท่อนนึงที่ติดในใจมาตั้งแต่วันจันทร์
時がゆけば、幼い君も大人になると気づかないまま
ตอนแรกก็คิดว่าคนที่ไม่รู้สึกตัวจะหมายถึง君ซะอีก
แต่ได้รับคำเฉลยมาว่าถ้ายึดตามหลักบุนโปเป็นหลัก จะหมายถึง 君 หรือคนร้อง (僕) ก็ได้....
อ้าว งงเลยสิ แง 5555555555
แล้วก็มานั่งคิด
ว่าคงเป็นเพราะเราตัด 幼い君も มาเป็นประธานของประโยคไปแล้วนั่นเอง.....
ถ้ามอง 幼い君も大人になる เป็นก้อนก้อนเดียวกัน มันก็จะกลายเป็นแค่ก้อนข้างในของ と気づかないまま เท่านั้นเอง ซึ่งก็จะทำให้ไม่ได้ระบุว่าใครกันแน่ที่ไม่รู้ตัว
อืม ๆ
มันเป็นแบบนี้นี่เอง
ชอบความลอยของบล็อกมาก รู้สึกอยู่ในภวังค์ มีความ modernism สูงมาก อย่างไรก็ดี ชอบ 考察 เปรียบเทียบโยงไปกับภาษาอังกฤษมาก รู้สึกว่าเนี่ยแหละ 応用言語学 ที่แท้
ตอบลบあんぱんさん วาดรูปเก่งจังเลย มีการค้นคว้าเปรียบกับภาษาอังกฤษอีกด้วย
ตอบลบเพิ่งรู้ว่าภาษาอังกฤษมันจะมีวิธีพูดรักษาน้ำใจโดยการพูดเรื่องจริงให้อยู่ในรูปอดีตด้วย เป็นความรู้ใหม่เลยค่ะ
ตอบลบ