เอาล่ะค่ะ เข้าเรื่องกันดีกว่า
วันนี้จะมาสรุป 知的に言うコツ โดยรวมทั้งหมดเผื่อวันไหนรู้สึกหัวตัน ๆ กับการเขียนหรือการพูดภาษาญี่ปุ่นจะได้กลับมาอ่านเพื่อเอาตัวรอดได้ค่ะ 55555555555
1. ใช้คำให้เป๊ะ
ใช้คำให้เป๊ะ ในที่นี้จะขอแบ่งออกเป็นสามข้อค่ะ
หนึ่งต้องเลือกคำให้ถูก
เลือกคำให้ถูกในที่นี้คือทั้งต้องเลือกคำคันจิได้เป๊ะปัง
อย่างบางครั้งเราอาจจะเลือกใช้คำง่าย ๆ อย่าง きまり แทนคำว่า 規則
แน่นอนว่าคำว่า きまり คงเป็นที่เข้าใจหรือคุ้นตามากกว่า 規則 ในระดับหนึ่ง
แต่การจะเขียนอะไรจริงจังหรือเขียนให้ดูมีความรู้ การใช้คำคันจิเป็นทางเลือกที่ดีในการทำให้ตัวเองดูมีความรู้และน่าเชื่อถือขึ้นค่ะ
แต่ทั้งนี้ก็มีความเสี่ยงที่เราจะเลือกคำผิดได้หากไม่เคยใช้มาก่อน เพราะงั้นก็ต้องค้นคว้าสักเล็กน้อยก่อนใช้ค่ะ
เลือกคู่ในที่นี้คือการเลือกใช้คำที่ปรากฏขึ้นด้วยกันบ่อย ๆ ค่ะ
บางคำเค้าก็มาเป็นแพ็คคู่ แล้วพอเป็นงั้นบางครั้งจะได้วลีที่มีความหมายต่างออกไปจากเดิมได้ค่ะ
อย่างเช่น 影が薄い ที่ไม่ได้แปลว่าเงาจางแต่แปลว่าไม่ค่อยมีตัวตนงี้ค่ะ
ตรงส่วนนี้เราว่าแค่ใช้ corpus ก็ช่วยได้มากเลยค่ะ
สาม(ไม่)ต้องเลือกคำญี่ปุ่นเสมอไป
ถึงจะบอกว่าการเลือกใช้คำคันจิจะทำให้เราดูฉลาดขึ้นได้
แต่มันก็ไม่เป็นจริงเสมอไป
บางครั้งจากเลือกใช้คำต่างประเทศจะให้ผลดีมากกว่าค่ะ จะทำให้เราดูทันสมัยและรอบรู้ขึ้นมาได้
แต่ทั้งนี้ต้องอย่าลืมบริบทและคำที่ใช้ด้วยว่าเหมาะสมมั้ย
2. ใช้คำให้นุ่มนวลเข้าไว้
เพราะบางทีการใช้คำโดยเลือกจากความหมายที่ตรงกับสารที่เราจะสื่อที่สุดอาจไม่ใช่ทางเลือกที่ดีเสมอไปค่ะ
อาจจะรุนแรงไปบ้าง หรือตรงเกินไปจนทำให้คู่สนทนาหรือผู้อ่านอึดอัดได้
สิ่งสำคัญคือต้องรู้จักเซ็นเซอร์ตัวเอง
ขอยกตัวอย่างเหตุการณ์จริงที่เกิดขึ้น
เรื่องนี้เริ่มมาจากการที่เราวาดรูปเล่น
ปากกาจรดกระดาษกับเส้นโค้งที่ยังลากได้ไม่ถึงไหน
ทันใดนั้นเองค่ะ น้องหมาที่อยู่ในปากเราก็สำแดงฤทธิ์เดช
"เบี้ยวอะ"
ค่ะผ่านมาแล้วเป็นเดือนเพื่อนก็ยังขยี้เราเรื่องนี้อยู่
ตอนนั้นถ้ามีสติเราอาจจะเลือกใช้ว่า
"วันนี้มือสั่นเหรอ"
หรือ
"ขีดไม่ถนัดรึเปล่า"
อาจจะไม่ได้ดีที่สุด
แต่ดีกว่าเบี้ยวอะแน่นอนใช่มั้ยล่ะคะ
เราว่าข้อนี้เป็นอะไรที่สำคัญมากเลยค่ะ และเป็นเรื่องที่ผ่านมาเราไม่เคยใส่ใจขนาดนั้น
นอกจากเรื่องการเลือกใช้คำที่สำคัญมาก ๆ แล้ว สภาพแวดล้อมและการคำนึงถึงความเป็นเหตุเป็นผลของสิ่งที่จะพูดหรือจะเขียนก็สำคัญไม่แพ้กันค่ะ
3. พูดอะไรไปต้องมีซัพพอร์ต
ต่อให้เลือกใช้คำสวยหรูแค่ไหนแต่ถ้าพูดอะไรก็ไม่รู้ลอย ๆ ไม่มีที่มาที่ไป อยากพูดะไรก็พูดแบบนี้ก็อาจจะดูไม่ฉลาดเท่าที่อยากจะแสดงออกไปค่ะ
เข้าใจเลยค่ะ
เวลาเขียนรายงานที่ต้องหาข้อมูลเป็นภาษาญี่ปุ่นเราชอบหา 論文 มาใช้อ้างอิงค่ะ เพราะหาง่ายกว่าหนังสือหรือบทความเป็นชิ้นเป็นอัน
ก็คืออยากดูฉลาดแต่ขี้เกียจนั่นเอง
อย่างที่ได้ทำการบ้านแก้อีเมลล์ไป
สารภาพตามตรงว่ามัวแต่โฟกัสที่การหาหลักฐานมารับรองและหาเหตุผลสนับสนุนจนมองข้ามการเลือกใช้คำไปซะสนิทเลยค่ะ
แต่ทั้งนี้ต่อให้หาอะไรมาอ้างอิงไว้ แต่เราก็ยังพลาดอยู่ค่ะ
คือยกมาแต่ทฤษฎีแล้วก็มีแค่คำอธิบายสั้น ๆ ไม่ได้เอาแหล่งที่มา คนคิด หรือ ผลการวิจัยใด ๆ มาช่วยเสริมความน่าเชื่อถือค่ะ...
โฟกัสตั้งแต่ 最後は...
พอเอามาอ่านอีกครั้งคือเหมือนพยายามหาอะไรมาอ้างอิงให้มันจบ ๆ ไปเลยค่ะ
ถ้าแก้ได้คราวนี้จะหาอะไรมากกว่าเขียนมากกว่านี้ค่ะ
อาจจะเป็นสถิติหรือตัวเลขที่มาจากการทดลอง
หรืออาจจะอธิบายทฤษฎีนี้ให้ละเอียดถี่ถ้วนขึ้นน่าจะช่วยให้น่าเชื่อถือขึ้นมากเลยค่ะ
4. อย่าลืม
เธอเป็นใครฉันเป็นใคร อย่าลืมสิ!!
คือบางครั้งมันก็ลืมจริง ๆ อะค่ะ แง
เพราะที่เราคุ้นชินในการพูดหรือเขียนที่สุดก็คือสำนวนปกติที่ไม่มีการยกย่องหรือถ่อมตัว รวมถึงบางครั้งในงานเขียนเองก็เผลอใช้คำที่ไม่เป็นทางการไปแทน
ข้อนี้เป็นข้อที่พยายามปรับอยู่ค่ะ
แต่ก็ยังพลาดอยู่บ่อย ๆ
อย่างในสคริปต์พรีเซนท์ของวิชาสนทนาภาษาญี่ปุ่นสี่ที่ทุกคนชื่นชอบ
ก็โดนแก้ให้ใส่ ご หรือ お บ้างล่ะ ให้เปลี่ยนคำให้เป็นทางการขึ้นบ้างล่ะ
สำหรับ Non-native อย่างเรา เรื่องนี้เราคงต้องใช้เวลาในการทำความคุ้นชินมากที่สุดเลยค่ะ
ก็จะพยายามปรับต่อไปค่ะ
เอาเข้าจริงแล้วการพูดหรือเขียนให้ดูมีความรู้นี่ค่อนข้างยากเลยค่ะ พอได้เรียนแล้วรู้สึกว่าตัวเองยังมีอะไรต้องปรับปรุงอีกหลายอย่าง
แต่ดีใจมากเลยค่ะที่ได้เรียนหัวข้อนี้
ทั้งนี้นี่คือแค่ภาพรวมของ 知的に言うコツ ในความคิดเราเท่านั้นค่ะ
อาจจะยังมีอีกหลายอย่างที่เราไม่ได้พูดถึง ต้องขออภัยด้วยค่ะ
สำหรับวันนี้ขอลาไปก่อน
แล้วเจอกันในโพสต์หน้าค่ะ
สรุปได้เข้าใจง่ายมาก ใช้คำเป็นกันเอง มีตัวอย่างประกอบ มีการ 内省 การบ้านในอดีตด้วย ดีค่ะ
ตอบลบ