Gapของเธอขอฉันนะ

เอาล่ะค่ะ วันนี้จะมาพูดเรื่อง GAP ที่ได้รับมอบหมายงานมาในห้องนะคะ
ก่อนอื่นเลย GAP คืออะไรกันนะ?



ใช่ GAP นี้รึเปล่านะ



หรือว่า GAP นี้กันนะ


หรือว่า GAP นี้----

หยุดก่อนจ้า

มาค่ะ จริงจังแล้วก็ได้

คำว่า Gap ในทางภาษาศาสตร์จริง ๆ แล้วมีหลายความหมายมากค่ะ
เลยอยากจะยก Gap ที่ไปเจอมาเล่าให้ฟังก่อนสักนิดค่ะ

Gap ที่เกิดขึ้นเพราะระบบของภาษา หรือ Accidental Gap
 เช่น ในภาษาอังกฤษมีการผันคำอย่าง

Arrive-->Arrival 

Create-->Creation

ทั้งสองคำเป็นคำกิริยาที่ผันไปเป็นคำนามและลงท้ายด้วยตัวอักษร e เหมือนกันค่ะ
แต่ Arrive ไม่สามารถผันเป็น Arivation ได้ เช่นเดียวกันกับที่ Create ไม่ผันไปเป็น Creatal

ทั้ง Arivition Creatal เป็นคำที่ไม่มีอยู่ในภาษาอังกฤษทั้งคู่ค่ะ เราเรียกคำที่ไม่มีการใช้อยู่จริงแต่อาจเกิดขึ้นได้เพราะระบบของภาษาเหล่านี้ว่า Accidental Gap ค่ะ

อะไรประมาณนี้ค่ะ
ถ้าเข้าใจผิดตรงไหนสับมาได้เลยนะคะ

โอเคค่ะ จบกันไปกับช่วงเติมไส้ถั่วแดงให้ขนมปังไส้ถั่วแดงที่ไม่มีถั่วแดงพอหอมปากหอมคอ
เรามาเข้าเรื่องหลักของวันนี้กันค่ะ



ก็รู้สึกว่าเป็น Sense of Humour ที่สมเป็นคนญี่ปุ่นจริง ๆ นะคะ

เพื่อง่ายต่อการอ่านและการเขีบนด้วยแหละ จะขอสรุปเป็นข้อ ๆ ไปนะคะ

1. เนื้อหา

ที่เห็นชัดที่สุดคือจะพูดว่าเพราะไปศัลยกรรมเสริมสวยมาเลยหาแฟนได้
そのおかげで...彼氏ができました
แต่กลับพูดออกไปว่า 綺麗になった彼女は彼氏ができました
เธอที่สวยขึ้นหาแฟนได้
เอาเข้าจริงแล้วผิดความหมายไปค่อนข้างมากเลยนะคะเนี่ย....

เพราะว่าไม่อยากลอกคำพูดของตัวละครมาทั้งหมดจึงพยายามจะ paraphase แต่ผลลัพธ์ก็ออกมาอย่างที่เห็นค่ะ 55555555555555555555555555555555555555

พอได้มานั่งคิดก่อนก็ปิ๊งขึ้นมาค่ะว่าใช้ 綺麗になったおかげで彼氏ができました ง่าย ๆ แค่นี้ก็ยังจะคงเซนส์เดิมของเนื้อหาไว้ได้มากกว่าค่ะ
ตรงนี้พอไปแอบ ๆ ดูของคนญี่ปุ่นมาเค้าก็ใช้ว่าประมาณว่าไปศัลยกรรมมาจนสวยเลยได้แฟน (ใช้ おかげで)
おかげで is the way to go จริง ๆ ค่ะ

ส่วนอีกเรื่องที่สื่อออกมาได้ไม่ดีเท่าไหร่คือ
จะพูดว่าเค้าใส่วิกแต่ก็พูดออกไปว่าผมของเขาจริง ๆ แล้วเป็นแค่วิก
彼の髪はただのカツラでした 
จริง ๆ พอไปดูของทางคนญี่ปุ่นแล้วก็คิดว่ายังพอรับได้ค่ะ เพราะมีคนใช้  彼氏、カツラだったっていうことด้วยค่ะ เอาจริง ๆ เราว่าตรงจุดนี้แค่พูดคำว่าวิกออกไปได้คนฟังก็น่าจะเก็ตแล้วค่ะ ไม่ต้องไปซีเรียสตรงอื่นมากก็ได้
แต่ถ้าอยากจะพูดให้ได้ดั่งใจนึกนี่หนทางยังอีกยาวไกลมากจริง ๆ ค่ะ

ลู้สึกท้อแท้

2. การเลือกใช้คำและภาษา

เราใช้ภาษาทางการในการพูด ทุกอย่างเป็นรูป丁寧หมดเลยค่ะ
อันนี้น่าจะเพราะติดมาจากวิชาไควะมากกว่าเป็นคนสุภาพโดยธรรมชาติค่ะ
เหมือนพอต้องพูดอะไรที่ไม่ใช่แค่การคุยเล่นกับเพื่อนเป็นภาษาญี่ปุ่นปุ๊ปเราจะใช้รูป 丁寧 โดยอัตโนมัติเลยล่ะค่ะ

ส่วนคนญี่ปุ่นพูดแบบเป็นกันเองหมดเลย แถมเป็นกันเองในที่นี้คือเพื่อนคนสนิทด้วยนะคะนั่น ดูจากที่ใช้รูป ちゃった เยอะมากกกกกก
กลายเป็นว่าเราดูซีเรียสจริงจังเกินเบอร์ไปเฉยเลย งง
อีกทั้งภาษาที่ใช้เหมือนกำลังนินทาคนอื่นอยู่จริง ๆ แถมเล่าเหมือนมีปฏิสัมพันธ์กับคนที่ฟังอยู่อย่างออกรสด้วยค่ะ
ก็คือแอบที่ในใจว่ามันต้องเบอร์นั้นเลยนะ

แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นการพูดของคนญี่ปุ่นเองก็ให้ความรู้สึกเป็นธรรมชาติแม้จะมีการเสริมเติมแต่งเรื่องด้วยก็ตาม เท่าที่สังเกตมามีการใช้คำลงท้าย のよ 、よね และ んだ ตามใจฉัน

เหมือนคนญี่ปุ่นพยายามสร้างความเกี่ยวพันระหว่างตัวเขากับเนื้อเรื่อง ไม่ว่าจะสมมติให้ตัวเองรู้จักกับตัวละครหรือทำเหมือนกำลังเม้าท์มอยคนอื่นให้เพื่อนฟัง มีการใช้รูป でしょう หยั่งกับคุยกันอยู่จริง ๆ แล้วจะขอความเห็นคนฟังด้วย

ส่วนตัวเรานั้นเล่าออกมาในฐานะบุคคลที่สามที่เห็นการกระทำทุกอย่าง เป็นแค่ผู้สังเหตการณ์ Third Person Perspective มากค่ะ
ในขณะที่คนญี่ปุ่นเล่าโดยใส่ตัวเองเข้าไปในนั้นด้วย

คนญี่ปุ่นในหมายเลขหนึ่งมีการเสริมว่าตัวผู้ชายเองก็ศัลยกรรมมาเหมือนกัน อีกทั้งยังพูดอย่างออกรสว่าช่างเป็นคู่ที่เหมาะสมกันอะไรเช่นนี้ ตรงจุดนี้ทำให้เรารู้สึกว่ามันเป็นเรื่องเล่าจริง ๆ ค่ะ ไม่ใช่เล่าเรื่องตามภาพอย่างที่เราทำไป

3. ลำดับการเล่าและ オチ

คนญี่ปุ่นมีการใช้ลำดับอย่างชัดเจนเล่าเป็นฉาก ๆ ได้อย่างเห็นภาพ ส่วนเราแทบไม่ได้ใช้คำเชื่อมเลยด้วยซ้ำไปค่ะ ตรงจุดนี้ทำให้เนื้อหาไม่ค่อยปะติปะต่อกันอย่างที่ควรค่ะ

แถมตอนก่อนจะถึงจุดพีคคนญี่ปุ่นมีการเน้นย้ำให้ชัดเจนถึงสิ่งที่จะพูด
ด้วยการใช้ なんと หรือ 次、彼、何したと思う?

ซึ่งตรงจุดนี้สะท้อนจุดพีคของการ์ตูนสี่ช่องนี้ออกมาได้ดีมากพอเทียบกับของที่เราทำไป
เราเล่าเรื่องเป็นเส้นตรง และเล่าไปตามช่องที่เห็น โดนไม่มีการพลิกแพลงหรือการใช้จินตนาการเสริมให้เรื่องสนุกขึ้นหรือเห็นภาพได้ชัดขึ้น

ส่วนหนึ่งอาจจะมาจากการที่เราดูภาพประกอบไปด้วยเล่าไปด้วยโดยไม่ได้คิดว่าจะเสริมอะไรเข้าไปไว้ก่อน จุดนี้เป็นจุดที่แก้ไขค่อนข้างยากเนื่องจากเราไม่ใช่ Native Speaker หรือต่อให้เราเป็น Native Speaker การที่อยู่ ๆ จะมาเล่าเรื่องเนี่ยก็อาจจะยากสำหรับบางคนอย่างเช่นเรานี่แหละค่ะ เพราะปกติก็พูดภาษาไทยไม่ค่อยจะรู้เรื่องอยู่แล้วอยู่ ๆ จะมาให้เล่าเรื่องแบบนี้เนี่ยอาจจะเกินความสามารถไปสักหน่อย หรืออย่างน้อยก็ไม่มีทางออกมาเป็นธรรมชาติได้ขนาดนั้น

ก็คงต้องพยายามปรับกันต่อไปค่ะ
สำหรับวันนี้ขอลาไปก่อน
Adios ค่า

ความคิดเห็น

  1. ได้รับความรู้ภาษาอังกฤษเพิ่มขึ้นด้วย โหว おかげで หรือ なんと ใช้เยอะเลยค่ะ ตอนเล่าเรื่อง สังเกตเก่งนะคะ หนทางไม่ไกลอย่างที่รู้สึกนะคะ

    ตอบลบ
  2. เพิ่งรู้ว่าการใช้ผิดแบบนั้นมันเรียกว่า accidental gap เรานี่คือเยอะมากๆ คิดคำใหม่เก่ง แต่ใช้แล้วไม่รู้เรื่อง 555555

    ตอบลบ

แสดงความคิดเห็น