ว่าด้วยเรื่องของการแปลเกม (1)

หายหน้าหายตาไปสักพักเลยค่ะ
ต้องขออภัย แต่พออยู่แต่ห้องแล้วไม่มีแรงบันดาลใจหรือปิ๊งอะไรที่พอจะเอามาเขียนได้เลยล่ะค่ะ
คือเขียนได้แหละค่ะแต่มันจะไม่มีสาระอะไรเลย
แล้วพอย้อนกลับไปดูเป้าหมายในตอนแรกก็คือ เอิ่ม
เราออกมานอกลู่นอกทางมากเลยนะเนี่ย....เอาจริงคือไม่ได้เล่นเกมต่ออย่างจริงจังตั้งแต่เดือนสองแล้วค่ะ แง 
แต่เรายังต้องไปต่อค่ะ ถึงจะไม่ตรงกับเป้าหมายที่ตั้งไว้ในตอนแรกเท่าไหร่เลยก็เถอะ อยู่ด้วยกันก่อนนะคะ (´。_。`)


วันนี้ก็จะกลับมาเรื่องภาษาในเกมอีกครั้งค่ะ เย่

คือต้องขอเล่าก่อนเลยว่าเป็นเด็กที่เล่นเกมมาตั้งแต่จำความได้เลยค่ะ
แบบว่า คำแรกที่พูดได้ไม่ใช่ マンマおっぱいいないいないばあ แต่เป็นสูตรเกมคอนทรา ขึ้น ลง เอ บี เอ บี สตาร์ท ค่ะ 
คุณแม่ภูมิใจในตัวหนูมั้ยคะ?

โดยเฉพาะเกมบอยหรือเกมของนินเทนโดอะไรพวกนี้ค่ะ ได้รับส่วนบุญมาจากพี่ชาย
แล้วคือสมัยก่อนก็ยังเป็นเด็กอมนิ้วเล่นเกมมั่ว ๆ ไม่เคยจะอ่านเทกซ์ของเกมหรอกค่ะ 
แต่พอย้อนกลับไปดูพวก Let's Play (ก็คือคล้าย ๆ พวกแคสเกมในไทยนี่แหละค่ะ แต่เราชอบดูแบบที่ไม่มีคนพูดค่ะ ดูเค้าเล่นเกมเฉย ๆ พอ.....) ของเกมเรโทรหรือเกมคลาสสิคเนี่ย

ภาษาน่ากลัวมากค่ะ
น่ากลัวแบบไหน?
ไปดูตัวอย่างกันค่ะ
.
.
.
Bad Game Translation Hall of Fame « Legends of Localization

แปลงเพศกลางคันบ้างล่ะ
(จากเกม Megaman Battle Network 4)
.
.
.

Metal Gear (NES)

สะกดคำผิดจนประโยคเพี้ยนบ้างล่ะ
(จากเกม Metal Gear Solid)
.
.
.

Ghosts 'n Goblins (NES)

เล่นมาทั้งเกมเพื่อฉากจบแบบนี้ !?
อย่างน้อยก็ขอ Congratulations ที่ถูกต้องได้มั้ยคะ //กอดขา

(จากเกม Ghosts N' Goblins)
.
.
.

จากการค้นหา translation fails ของเกมทั้งหลายมา ที่พบส่วนใหญ่จะเป็นข้อผิดพลาดของการแปลเกมจากภาษาญี่ปุ่นมาเป็นภาษาอังกฤษค่ะ เนื่องจากเกมที่เป็นของญี่ปุ่นถ้าจะนำออกต่างประเทศอย่างที่ทราบกันว่าภาษาแรกที่จะได้รับการแปลจากญี่ปุ่นส่วนใหญ่คือภาษาอังกฤษค่ะ

ด้วยความที่ประเทศญี่ปุ่นเป็นประเทศที่เป็นประเทศที่มีตลาดเกมค่อนข้างใหญ่ แต่ด้วยปัจจัยหลาย ๆ อย่าง คนต่างชาติคงไม่นิยมเล่นเกมที่เป็นภาษาที่ตนไม่คุ้นเคยกัน เนื่องจากเกมต่างจากสื่ออื่น ๆ อย่าง นิยายหรือการ์ตูนตรงที่เราเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของมันด้วย 
ดังนั้นสำหรับเราแล้วการแปลเกมหรือ localize เกมเป็นศาสตร์ที่สำคัญมากค่ะ 

แต่เอาเข้าจริงแล้วการแปลเกมเนี่ยเป็นเรียกได้ว่าเป็นเรื่องที่ค่อนข้างใหม่เหมือนกันนะคะ 
เพราะนอกจากวีดีโอเกมจะมีประวัติศาสตร์ไม่ถึงร้อยปีแล้ว ก่อนหน้านี้เนี่ย เกมยังไม่ค่อยอาศัยตัวหนังสือมาช่วยในการเล่นเท่าไหร่ค่ะ
อย่างเกม PacMan เนี่ยก็ไม่ใช่เกมที่มีตัวหนังสือใช่มั้ยล่ะคะ 
แต่พอเทคโนโลยีพัฒนาไปไกล เกมง่าย ๆ ที่ไม่ต้องอาศัยความเข้าใจภาษาก็ได้รับความนิยมน้อยลง แทนที่ด้วยเกมที่ค่อนข้างเน้นไปที่เนื้อเรื่องหรือ text-driven มากขึ้น 

ความยากของการแปลวีดิโอเกมเนี่ย
คือต้องแปลให้คนเล่นอินไปกับมันด้วยค่ะ

คนแปลนอกจากจะต้องคำนึงกลุ่มเป้าหมายของเกมที่ตนเองแปลแล้ว
ยังต้องพยายามปรับความต่างของวัฒนธรรมญี่ปุ่นให้ออกมาเข้าถึงได้ด้วย อย่างที่เราเคยเขียนไว้ในบล็อควิเคราะห์ชื่อตัวละครในเกมก่อนหน้านี้ หากแปลออกมาแล้วมันทำให้คนเล่นรู้สึกว่าตนเองไม่เป็นส่วนหนึ่งของโลกนั้นจะทำให้เกมมันหมดสนุกได้ค่ะ

และอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญคือ การแปลเกมนั้นไม่ได้แปลแบบที่เวลาเราแปลสะคุบุนของเราเป็นไทยหรือแปลเพลงแบบนั้นค่ะ ทีมแปลเกมเค้าจะต้องแปลจากโค้ดต่าง ๆ ที่ทำให้ตัวหนังสือออกมาในช่วงไหนในเหตุการณ์ไหนค่ะ

เท่าที่เข้าใจคืออะไรประมาณนี้ค่ะ


สิ่งที่เราเห็นในเกม




ส่วนสิ่งที่ทำให้ text ออกมาเป็นแบบนี้คือ



ด้วยความที่ว่าคนแปลเขาไม่ได้แปลจาก cat เป็น แมว 
แต่เขาแปลจากภาษาโค้ดอย่างข้างต้นค่ะ บางครั้งจึงทำให้เกิดข้อผิดพลาดระหว่างทางได้ค่อนข้างง่าย อีกอย่างคือคนแปลเขาจะไม่ได้แปลไปเล่นเกมไปด้วย เพราะงั้นการที่ต้องแปลจากโค้ดเหล่านี้โดยไม่มีบริบทจึงทำให้เกิดข้อผิดพลาดได้ง่ายมากค่ะ

เนื่องด้วยปัจจัยหลายประการ การแปลเกมจึงไม่ได้ง่ายเหมือนยัดต้นฉบับให้คนแปลแล้วปล่อยให้เค้าไปแปลไปเองเลย นอกจากจะต้องทำงานกันเป็นทีม แปลออกมาให้ตัวละครและโทนของเรื่องไปด้วยกัน ยังต้องห่วงเรื่องตัวโค้ดที่ใช้จะผิดพลาดด้วยค่ะ


และอีกข้อสำคัญที่แบ่งการแปลเกมออกจากการแปลสื่ออื่น ๆ คือ
การที่เราไม่สามารถใส่หมายเหตุหรือ footnote โต้ง ๆ ลงไปในเกมได้ค่ะ


อย่างเราอยากจะให้คนเล่นรับรู้ว่า อ๋อ นี่นะค้า คือมุกเล่นคำของญี่ปุ่นค่า เอาอันนี้มาแปลงเป็นอันนี้ บลา ๆๆๆๆๆ 
ก็คือทำไม่ได้ค่ะ เพราะงั้นการแปลเกมจึงต้องใช้ความคิดสร้างสรรค์และการ adapt ค่อนข้างสูงเลย

สู้ต่อไปนะคะคุณนักแปลเกม เป็นกำลังใจให้ห่าง ๆ อย่างห่วง ๆ ค่ะ....



ทุกคนอ่านมาถึงตรงนี้สงสัยมั้ยคะว่ายัยนี่กำลังพูดอะไร ไม่เห็นจะเกี่ยวกับภาษาศาสตร์สักเท่าไหร่เลย

ใช่ค่ะ ตอนนี้ยังไม่ค่อยเกี่ยว แต่บล็อกหน้ารับรองว่าจะอึ้ง ทึ่ง งง กันไปเลยค่าา 
(เพราะคนเขียนบล็อคก็ยังงง ๆ อยู่เหมือนกันค่ะ คิคิ)

เพราะงั้นอดใจไว้ก่อน แล้วเจอกันบล็อคหน้าค่ะ (ถ้าเอาชีวิตรอดงานและไวรัสไปได้น่ะนะ...)

ราตรีสวัสดิ์ค่ะ (✿◡‿◡)



ปล. ใครสนใจอ่านเรื่องการแปลเกมเพิ่มเติมเชิญทางนี้เลยค่ะ -->

ความคิดเห็น

  1. โหว เวลาแปลเขาแปลจาก code หรือคะ (เพิ่งรู้) และคนแปลต้องอินด้วย .... อย่างนี้คนเล่นเกมมากๆถ้าจะมาช่วยปรับการแปลให้ดีขึ้น ก็น่าจะทำได้ใช่ไหมคะ (คือต้องเป็นคนเล่นเกม + รู้ code + ภาษาดีทั้งสองฝั่ง) ถูกไหมคะ เหมือนว่าอาชีพนี้มีคนได้จำกัดมาก มีคุณค่าและเป็นที่ต้องการของตลาดทีเดียว จะรออ่าน blog คราวหน้านะคะ (จะได้เข้าใจมากขึ้น)

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. คือเท่าที่เข้าใจไม่ใช่เป็นโค้ดซับซ้อนอะไรขนาดนั้นค่ะ เห็นเข้าเรียกกันว่า strings of text นักแปลอาจจะไม่ต้องไปยุ่งกับโค้ดมากแต่ต้องเข้าใจว่าโค้ดนี่คืออันนี้นะประมาณนี้ค่ะ คิดว่าช่วยได้นะคะ ยิ่งเกมเมอร์ที่รู้ฟังก์ชั่นโค้ดพื้นฐานน่าจะช่วยได้เยอะมากเลยค่ะ

      ลบ
  2. ปักหมุดรอคุณอันปังนะคะ
    จบกันได้ทำร้ายจิตใจมาก 5555555 ทิ้งให้ชั้นอยากรู้แล้วจากไป ทำกันได้ลงคอ

    ตอบลบ
  3. จริงมากที่ว่าไม่มี footnote ให้อธิบาย แต่จริงๆแม้แต่ในนิยายก็ควรเลี่ยงให้ได้มากที่สุดอะนะพี่สาว แต่เกมก็คือเกมเลยสมชื่อจ้า

    ตอบลบ

แสดงความคิดเห็น