การเดินทางตามหาไส้ถั่วแดง (สรุป)

ในที่สุดเราก็เดินทางกันมาถึงบทสรุปของบล็อกวิชา App JP Ling กันแล้วค่ะ

เป็นช่วงเวลาราวสี่เดือนที่ยาวนานเลยทีเดียว เพราะอุปสรรคทางการเรียนอันเนื่องมาจากโควิด แต่ตอนปั่นงานนี่เวลาผ่านไปเร็วจัง แป๊ป ๆ จะเดดไลน์ซะแล้ว งงค่ะ

มาค่ะในบล็อกสรุปนี้เรามาเริ่มกันที่บล็อกที่เราได้เขียนไปกันดีกว่า!



จากบล็อคทั้งหมดนี้มีความรู้ต่าง ๆ ที่ไปค้นคว้าเพิ่มเติมทั้งหมด 9 ประเด็น(โดยประมาณ)ดังนี้ค่ะ

  1.  over-regularization ใน WEEK 2 餡子はどこ?
  2. การสร้างเสริมความสุภาพในภาษาอังกฤษ WEEK 4 恐るべき敬語
  3. Pivot Language ใน Pivot Language (55555)
  4. การแปลแบบ Localization ใน ว่าด้วยเรื่องของการแปลเกม (1)
  5. Alienation ใน ว่าด้วยเรื่องของการแปลเกม (1)
  6. Accidental Gap ใน Gapของเธอขอฉันนะ
  7. 言いさしใน ว่าด้วยเรื่องของการแปลเกม (2)
  8. 古語 ใน ว่าด้วยเรื่องของการแปลเกม(3)
  9. Archaism ใน ว่าด้วยเรื่องของการแปลเกม(3) 

ทีนี้เรามาดูเป้าหมายของบล็อกนี้ที่ตั้งไว้ในตอนแรกกันดีกว่าค่ะ



ประเด็นแรก


ได้ศัพท์ใหม่ 50 คำ  —->เนื่องจากเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝันขึ้นมากมายทำให้ไม่ได้ทำออกมาได้ตามที่ตั้งใจไว้ตอนแรกว่าจะทำรวบรวมมาลงบล็อค เหตุการณ์ที่ไม่คาดฝันที่ว่าคือหลังจากเล่นมาราธอนไปได้สองสามวันในช่วงแรกก็แทบไม่ได้แตะเกมแบบจริง ๆ จัง ๆ อีกเลยค่ะ อุแง 5555555555555555 

สุดท้ายเลยไปเน้นเรื่องการวิเคราะห์ความต่างมากกว่า (เพราะเปิดดูบทพูดที่เคยเล่นผ่านมาแล้วได้และคิดว่าการวิเคราะห์น่าจะตรงกับจุดประสงค์ของวิชานี้มากกว่า) แต่ตอนที่เล่นเองก็ได้ศัพท์ใหม่มาบ้างนะคะ แต่ไม่ได้จดเป็นจริงเป็นจังเท่านั้นเอง อีกอย่างคือคิดว่าศัพท์ในเกมพวกนี้คงไม่น่าสนใจเท่าไหร่(มั้ง) ก็เลยปล่อยเลยตามเลยค่ะ

ผลลัพธ์ศัพท์ 50 คำ : ทำไม่สำเร็จ อุแง 

ประเด็นที่สอง

วิเคราะห์ความต่างระหว่างเกมเวอร์ชั่นภาษาญี่ปุ่นกับภาษาอังกฤษ 

ผลลัพธ์ : เขียนออกมาได้หลัก ๆ 5 บล็อกตามนี้ค่ะ

  1.  RPG Shoukai and analysis 1
  2.  Job Name Analysis
  3. ว่าด้วยเรื่องของการแปลเกม (1)
  4. ว่าด้วยเรื่องของการแปลเกม (2)
  5. ว่าด้วยเรื่องของการแปลเกม (3)
หลังจากทำไปทั้งห้าบล็อก
สามารถสรุปหัวใจสำคัญของการแปลเกมจากภาษาญี่ปุ่นมาเป็นอังกฤษในเกม Bravely Second ได้ดังนี้ 

  1.  ไม่จำเป็นต้องแปลเป๊ะทุกระเบียบนิ้ว
  2.  แต่ละภาษามีลูกเล่นในการใช้ภาษาแตกต่างกันออกไป 
  3.  มีความระวังการเกิด Alienation โดยการคำนึงถึง Target-Group ของเกม 
  4.  สิ่งที่สำคัญที่สุดคือการทำให้คนเล่นอินไปกับเกมได้ (Immersion)


สรุปสิ่งที่ได้รับจากการเขียนบล็อควิเคราะห์เกม


สิ่งที่ได้จากความพยายามจะวิเคราะห์เกมนี้คือรู้สึกว่าทำให้เรารู้จักสังเกตอะไรเล็ก ๆ น้อย ๆ มากขึ้นค่ะถ้าเป็นเมื่อก่อนคงเล่นไปไม่สนใจอะไรอ่านผ่านๆไม่คิดมากแต่ตอนนี้พอเปิดเกมมาปุ๊ปเวลาอ่านบทพูดหรืออ่านข้อความต่าง ๆ ก็จะมานั่งคิดนั่งนึกลองสังเกตอะไรที่ไม่เคยสนใจมาก่อนมากขึ้นจริง ๆ ค่ะ จนแทบจะเล่นเกมไม่สนุกเลยเพราะมัวแต่จะหาอะไรมาเขียนอยู่ทุกครั้งที่เปิดเกมขึ้นมา 55555555

แต่แน่นอนว่าการสังเกตเรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ เป็นสิ่งที่ดีค่ะเพราะการที่เราจะพัฒนาตัวเองให้ไปได้ไกลdว่านี้ได้คือเราต้องอาศัยการสังเกตอย่างมากเลยล่ะค่ะ สังเกตความผิดพลาดของตัวเอง สังเกตการใช้ภาษาของคนรอบตัวหรือจากสื่อต่าง ๆ ช่วยทำให้เราเกิดการรับรู้และเข้าใจข้อผิดพลาดของตัวเองมากขึ้น หรือแม้แต่หยิบยืมการใช้ภาษาของคนอื่นมาปรับใช้เพื่อปรับปรุงการใช้ภาษาของตัวเองก็เป็นหนึ่งในการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพค่ะ

อีกอย่างคือสังเกตได้ว่าการเรียงลำดับความคิดของตนเองเวลาจะเขียนบล็อคมีการพัฒนาขึ้นจากตอนแรกที่สะเปะสะปะไปเรื่อยก็เริ่มมีเค้าโครงที่ชัดเจนขึ้นเวลาเขียนค่ะ อีกทั้งฝึกระเบียบวินัยในการหมั่นอัพบล็อคให้สม่ำเสมอ(ถึงจะยังห่างไกลจากคำว่าสม่ำเสมอไปเยอะก็เถอะ แต่จากนิสัยปกติของตัวเองก็ถือว่ามีพัฒนาการเลยทีเดียวค่ะ คิคิ)

ถึงอาจจะมีผิดพลาดบ้าง ไม่ตรงประเด็นไปบ้าง หรืออาจจะมีบางจุดที่ยังแก้ไขให้ดีขึ้นได้อีก

แต่ขอบคุณทุกคนที่ให้ความสนใจและเมตตาบล็อควิเคราะห์เกมของเรานะคะ (✿◡‿◡)

สรุปสิ่งที่ได้จากห้องเรียน

ได้รู้ถึงความสำคัญของฟีดแบ็ค เพราะไม่ค่อยได้รับฟีดแบ็คอย่างจริงจังในวิชาอื่นเท่าไหร่ พอมาในวิชานี้ในที่สุดก็เข้าใจว่ามันสำคัญมากที่จะรับรู้และสังเกตข้อผิดพลาดของตัวเอง และสิ่งที่เราผิดพลาดไปนี่แหละเป็นบทเรียนชั้นดีให้กับทั้งตัวเองและเพื่อนในชั้นเรียนคนอื่น ๆ ด้วย การพลาดไม่ใช่เรื่องน่าอายหากเราเรียนรู้จากมัน

กิจกรรมต่าง ๆ ในห้องเรียนทำให้เราเรียนรู้ที่จะไม่โฟกัสแค่เพียงที่ตัวเอง แต่การสังเกตอะไรรอบตัวก็มีประโยชน์กว่าที่คิดมากค่ะ ความรู้สึกในการเรียนรู้ไปพร้อมกับคนอื่น ๆ นี่เป็นความรู้สึกที่ดีมากเลยค่ะ ไม่ว่าจะช่วยกันแต่งเรื่องผีหรือช่วยกันออกความคิดเห็น

เวลาเขียนหรือทำงานของวิชาอื่นจะระวังเรื่องการใช้ภาษา ความเหมาะสมของระดับภาษาที่ใช้มากขึ้น รวมถึงคอยสังเกต gap ของตัวเองและพยายามหาทางแก้ไข อีกทั้งยังช่วยให้เราเห็นความสำคัญของการพูดและการเขียนให้น่าเชื่อถือโดยการยกเหตุผลและหลักฐานต่าง ๆ มาประกอบให้ถูกต้องและมีใจความสมบูรณ์

ส่วนตัวชอบหัวข้อ 空想作文 เป็นพิเศษค่ะ เพราะนอกจากจะได้เขียนอะไรกาว ๆ แล้วยังได้รับคอมเม้นท์ดี ๆ จากทั้งอาจารย์และเพื่อน ๆ ด้วยค่ะ รู้สึกว่าถึงจะเป็นงานของเราแต่เราไม่ได้ตัวคนเดียว แง

นอกจากนี้ยังได้ความรู้แปลกใหม่จากการอ่านบล็อคของคนอื่น ๆ เห็นพัฒนาการของเพื่อน ๆ ที่เริ่มพร้อมกัน บางคนไปไกลแล้ว ก็รู้สึกมีแรงฮึดที่จะวิ่งไล่ตามขึ้นมาค่ะ


จะเรียกว่าเป็นวิชาที่เปลี่ยนมุมมองในการเรียนการสอนของเราไปเลยก็ว่าได้ค่ะ 

.
.
.
สรุปว่าหาไส้ถั่วแดงเจอรึยัง?

หลังจากที่ประกาศกร้าวไปว่าจะตามหาไส้ถั่วแดง(ความรู้)มาเติมเต็มสมองอันว่างเปล่า
ก็กล้าพูดนะคะว่าขนมปังไส้ถั่วแดงไม่มีถั่วแดงก้อนนั้นได้เดินตามหาไส้ถั่วแดงมาเติมเต็มตัวเองได้แล้ว
อาจจะไม่ใช่อันปังที่สมบูรณ์ที่สุด
แต่ก็เป็นขนมปังไส้ถั่วแดงที่ดีขึ้นกว่าเมื่อวานแน่ ๆ ค่ะ

ไม่มีอีกแล้ว ขนมปังไส้ถั่วแดงที่ไม่มีถั่วแดงคนนั้น!
แต่แน่นอนว่าหนทางยังอีกยาวไกล สู้ต่อไปอันปังแมน(!?)


ขอบคุณสำหรับทุกอย่าง รวมถึงทุกคนในชั้นเรียน อาจารย์ และพี่ทีเอค่ะ 
ขอบคุณจากใจ

วันนี้ขอลาไปก่อน
แล้วพบกันนะคะ (´▽`ʃ♡ƪ)


ลงชื่อ

ようやく餡子があるあんパン


ความคิดเห็น

  1. เราพึ่งเขียนまとめบล็อกเสร็จเหมือนกัน เขียนถึงFBเหมือนกันเลย
    ชอบ FB เเบบอธิบายอย่างที่อ.กนกวรรณกับอ.ยามาดะให้เลย
    เราได้เรียนรู้เเบบ ผิด->เข้าใจ-> จำ ไม่ใช่จำได้ว่าผิดเเต่นึกไม่ออกว่าต้องเเก้อย่างไร
    ดีใจที่ชอบตรงส่วนนี้ของวิชาเหมือนกัน ^^

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. จริงค่ะ ส่วนตัวว่าฟีดแบ็คเป็นจุดแข็งของวิชานี้เลย ได้แก้ ได้เห็นที่พลาดไป ได้รู้อะไรเพิ่มขึ้นมากจริง ๆ ค่ะ (✿◡‿◡)

      ลบ
  2. สรุปได้ดีมากครับ คิดว่าฟีดแบ็คที่ได้ในวิชานี้คือจัดเต็มมาก ทำให้เราพัฒนาได้มากขึ้น ชอบตอนจบที่มีไส้ถั่วแดงมากขึ้นด้วย5555

    ตอบลบ
  3. เก่งมากค่ะอันปังของพ่กเลา จากที่ดูเหมือนไม่รู้จะเขียนอะไรดีแต่กลับเสกบทความปังๆให้อ่านได้ตั้งหลายเรื่อง ชอบมากค่ะ รออ่านต่อนะคะ--อ้าว ยังไม่เขียนต่อเร็วๆนี้เหลอ QAQ

    ขอให้อันปังของเรามีไส้เยอะๆขึ้นไปนะคะ อย่าฟีบ!! สู้ต่อไปอันปังแมนน

    ตอบลบ
  4. อ๋อ เพิ่งเข้าใจว่าทำไมต้องชื่อ blog เป็น 餡子のないあんぱん แล้วหล่ะ แต่ในที่สุดก็มี 餡子 เกิดขึ้นนะคะ(ดีใจจัง) ยอดเยี่ยม ขอบคุณที่ทำให้ครูเข้าใจความแตกต่างในการแปลเกมทั้งสองภาษา และทำให้สนใจการแปลเกมและการใช้ภาษาในเกมมากขึ้น คนเขียนสังเกตจนเล่นเกมไม่สนุกเลยหรือคะ (555) แต่ทำให้เกิดนิสัยการสังเกตต่อภาษาเป็นสิ่งที่ดีมากนะคะ ครูประทับใจ 空想作文 ของหนูมากที่สุด....โดยเฉพาะไอเดียเรื่องความรักและหัวใจ อ่านแล้วอบอุ่นใจ

    ตอบลบ

แสดงความคิดเห็น